ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคยาต้านจุลชีพและการดื้อยาต้านจุลชีพ ณ โรงพยาบาลสงฆ์

โดย: วานิสสา อัศวศิริโรจน์, ปิยรัฐ ขจรไตรเดช    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , เฉลิมศรี ภุมมางกูร , ปริญดา พีรธรรมานนท์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การดื้อยา, คาร์บาพีเนม, ปริมาณการใช้ยา, ซูโดโมนาส แอรูจิโนสา, อะซิเนโตแบคเตอร์ , resistance, carbapenems, antibiotic consumption, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter spp.
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันอัตราการดื้อยา imipenem และ meropenem เพิ่มสูงขึ้น โดยเชื้อที่มักดื้อต่อยาทั้งสองนี้ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งมีกลไกการดื้อยาแบบ efflux pump และลดการสร้าง OprD และเชื้อ Acinetobacter spp. ซึ่งมีการสร้างเอนไซม์ carbapenemase มาทำลายยา เหตุผลหลักที่ทำให้เชื้อเกิดการดื้อยามากขึ้น คือ การใช้ยา imipenem และ meropenem ในปริมาณที่มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยา imipenem และ meropenem กับการดื้อยาของเชื้อทั้งสองชนิดดังกล่าวข้างต้น โดยค้นหาผลการทดสอบความไวของเชื้อ P. aeruginosa และ Acinetobacter spp. กับยา imipenem และ meropenem จากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลสงฆ์ และนำมาเปรียบเทียบกับค่า defined daily dose (DDD) ต่อ 1,000 ผู้ป่วยใน–วัน ของยา imipenem และ meropenem ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2553 ผลการศึกษาพบว่า DDD ต่อ 1,000 ผู้ป่วยใน-วันของยา imipenem และ meropenem และอัตราการดื้อยาของเชื้อ non-multidrug-resistant (non-MDR) P. aeruginosa และ non-MDR Acinetobacter spp. ต่อ imipenem และ meropenem ในแต่ละปีมีค่าสูงขึ้น เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการดื้อยาของเชื้อ P. aeruginosa ต่อ imipenem และ meropenem กับ DDD ต่อ 1,000 ผู้ป่วยใน-วัน ของยาทั้งสองชนิด ซึ่งแบ่งเป็นทุก 6 เดือน พบว่า มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.312 ; p = 0.609 และ r = 0.717 ; p = 0.173) โดยสรุปเมื่อมีการใช้ยาเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษาในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นยังมีความจำเป็นเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการดื้อยาและอัตราการใช้ยาต่อไป
abstract:
Nowadays, rates of imipenem and meropenem resistance are increasing. The most 2 common resistant microorganisms are Pseudomonas aeruginosa by efflux pump and loss of OprD and Acinetobacter spp. by carbapenemases. The main reason which contributes to the resistance may come from overconsumption of the drugs. The purpose of this study was to determine the relationship between antibiotic consumption and resistance. The data were collected from sensitivity tests of P. aeruginosa and Acinetobacter spp. to imipenem and meropenem from Priest Hospital’ s database and then, were compared with defined daily dose (DDD) per 1000 inpatient-day of imipenem and meropenem during January, 1st 2008 to December, 31st 2010. The result showed that DDD/1,000 pt-day of imipenem and meropenem and non-MDR P. aeruginosa and non-MDR Acinetobacter spp. resistant rate were increasing each year. Correlation analysis demonstrated possible relationship between imipenem and meropenem – resistance P. aeruginosa and DDD/1,000 pt-day divided in every 6-month period but no statistically significant difference was found (r = 0.312 ; p = 0.609 และ r = 0.717 ; p = 0.173). In conclusion, increasing rate of antibiotic resistance was related to antibiotic consumption, but no statistically significant difference was found. However, long term study is still necessary to determine the correlation.
.