อิทธิพลขององค์ประกอบในตำรับต่อการปลดปล่อยตัวยาไดโคลฟีแนคไดเอธิลแอมโมเนียจากอีมัลชั่นเจล

โดย: สราวุธ นีละเสวี,วีณา สาธิตปัตติพันธ์    ปีการศึกษา: 2538    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ ศึกษาผลของชนิด และปริมาณของสารช่วยในตำรับ ได้แก่ isopuopyl myristate (IPM), isopropanol (IPA), propylene glycol (PG) ที่มีต่อการปลดปล่อยตัวยา Diclofenac Diethylammonium จากยาเตรียม Emulsion Gel เปรียบเทียบกับ Voltaren(trademark), Emulgel โดยใช้ release cell ที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง และติดตั้งใน Dissolution Apparatus 2 พบว่ายาเตรียมอีมัลชั่นเจลทุกตำรับให้ปริมาณการปลดปล่อยตัวยาที่สัมพันธ์โดยตรงกับรากที่สองของเวลา ซึ่งเป็นไปตาม Higuchi,s Model of Diffusion เมื่อใช้ IPM ในปริมาณ 2, 4 และ 6%โดยน้ำหนักของตำรับพบว่าปริมาณของ IPM ไม่มีผลต่ออัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยา จากยาเตรียมอีมัลชั่นเจล ( KH) อย่างมีนัยสำคัญ แต่ทุกตำรับจะให้ KH สูงกว่า Voltaren®, Emulgel อย่างมีนัยสำคัญ [p = 0.05, 2 tails; Least Significant Difference Procedure (LSD)] เมื่อใช้ IPA ในปริมาณ 8, 12, 16 และ 20% โดยน้ำหนักของตำรับ พบ ว่าปริมาณของ IPA มีผลต่อ KH อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01, ANOVA Test) เมื่อจัดอันดับ KH ของตำรับต่างๆ จากสูงไปต่ำพบว่า IPA 8% > IPA 12% ประมาณ IPA 16% >IPA 20% > Voltare®, n Emulgel (p = 0.05, 2 tails; LSD) เมื่อใช้ PG ในปริมาณ 4, 8 และ 12% โดยน้ำหนักของตำรับ พบว่าปริมาณของ PG มีผลต่อ KH อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01, ANOVA Test) เมื่อจัดอันดับ KH ของตำรับต่างๆ พบว่า PG 4% ประมาณ PG 8% > PG 12% > Voltaren®, Emulgel (p = 0.05, 2 tails; LSD) ผลของสารช่วยในตำรับที่มีความหนืดของยาเตรียมอีมัลชั่นเจล พบว่าเมื่อใช้ IPM ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ความหนืดของยาเตรียมเพิ่มขึ้น แต่เมื่อใช้ปริมาณของ IPA และ PG พบว่ามีแนวโน้มที่จะทำให้ความหนืดของยาเตรียมอีมัลชั่นเจลลดลง
abstract:
The effects of various isopropyl myristate (IPM), isopropanol (IPA) and propylene glycol (PG) concentrations on the release of diclofenac diethylam- monium from emulsion gels were studied and compared with Voltaren®, Emulgel by using release cells installed in USP dissolution apparatus 2. From linear regres- sion analysis, all formulations showed the high correlation between the amount of drug release per unit area and the square root of time. The slope of linear profile was defined as the Higuchi’s rate constant (KH). When IPM was used in the concentrations of 2, 4 and 6% w/w, the results showed that there was no significant difference among KH of various emul- sion gels and that Voltaren®, Emulgel possessed lowest KH. When IPA was used in the concentrations of 8, 12,16 and 20% w/w,the results showed that KH of IPA 8% > IPA 12% =IPA 16% > IPA 20% > Voltaren®, Emulgel. When PG was used in the concentrations of 4, 8 and 12% w/w, the results showed that KH of PG 4% = PG 8% > PG 12% > Voltaren®, Emulgel ( p=0.05, 2 tails; LSD ). Futhermore, vis- cosity of emulsion gel decreased with increasing either IPA or PG concentration ,but increased with increasing IPM concentration.
.