การประเมินการใช้ยาในการรักษาภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตัน อันเนื่องมาจากก้อนเลือดที่หัวใจในผู้ป่วย atrial fibrillation

โดย: นทีเทพ รัตนวิภานนท์, วิภารักษ์ บุญมาก    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , จุฑามณี สุทธิสีสังข์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตัน, atrial fibrillation, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาวาร์ฟาริน, atrial fibrillation , ischemic stroke , cardioembolism , anti-thrombotic therapy , warfarin
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการทบทวนแฟ้มประวัติย้อนหลังเพื่อประเมินคุณภาพของการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซึ่งเกิดจากก้อนเลือดในหัวใจที่เข้ารับการรักษาใน 3 โรงพยาบาล ระหว่าง 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2553 โดยทำการเปรียบเทียบการรักษาด้วยยากับแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ผู้ป่วย 173 รายได้รับการคัดเลือกเข้ามาทำการศึกษา อายุเฉลี่ยของประชากรกลุ่มนี้คือ 69.83 ± 12.41 ปี สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินก่อนเข้า รับการรักษา พบว่า ระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในช่วงที่ให้ผลการรักษาเท่ากับร้อยละ 35.26 ± 26.19% และมีค่า INR ณ วันที่เข้ารับการรักษา คือ 1.37 ± 0.68 ระยะเวลาเฉลี่ยนับตั้งแต่เกิดอาการจนมาถึงโรงพยาบาล, ตั้งแต่เกิดอาการจนได้รับการทำ CT, ตั้งแต่เกิดอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด คือ 14.79 ± 24.99 ชั่วโมง, 64.65 ± 104.37 นาที และ 3.06 ± 1.19 ชั่วโมงตามลำดับ อัตราการใช้ยาแอสไพริน, ยากลุ่ม heparins และยาละลายลิ่มเลือด คือร้อยละ 42.2, 62.4 และ 10.4 ตามลำดับ Hemorrhagic transformation เกิดขึ้นกับผู้ป่วยร้อยละ 10.4 ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวกว่าร้อยละ 50 ได้รับ heparins ร่วมด้วย การใช้ยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับการเกิด hemorrhagic transformation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (38.9% และ 7.1%, p=0.001) โดยสรุปแล้ว ควรมีการพัฒนาคุณภาพการรักษาภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันในผู้ป่วย atrial fibrillation ด้วยยาต่อไป
abstract:
A multi-center retrospective study was conducted to assess the quality of treatment provided to patients suffering from acute ischemic stroke secondary to cardioembolism in 3 major teaching hospitals during 2008 – 2010. The assessment was done by comparing treatment provided with those recommended by standard treatment guidelines. There were 173 patients who were included in the data analysis. Mean age was 69.83 ± 12.41 year-old. For patients receiving anticoagulation therapy prior to admission, the time in therapeutic range of international normalized ratio (INR) was 35.26% ± 26.19%. For these patients, the mean INR on admission dates was 1.37 ± 0.68. Mean time of arrival to hospital, CT scan delivery, and time to thrombolysis was 14.97 ± 24.99 hours, 64.65 ± 104.37 minutes, and 3.06 ± 1.19 hours, respectively. The usage rates of aspirin , heparins , and thrombolytic drugs were 42.2%, 62.4%, and 10.4%, respectively. Hemorrhagic transformation occurred in 10.4% of patients and half of them received heparins. Use of thrombolytics was significantly asscociated with hemorrhagic transformation (38.9%, and 7.1%, p=0.001). In summary, significant room for improvement exists for the pharmacotherapeutic management of patients with acute ischemic stroke secondary to cardioembolism.
.