การเตรียมซินนามาลดีไฮด์ไลโปโซม

โดย: ขวัญหทัย กิตติภัสสร, นัชภรณ์ เทศวงศ์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , มนตรี จาตุรันต์ภิญโญ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ซินนามาลดีไฮด์, ไลโปโซม, การเตรียม, Cinnamaldehyde, liposome, entrapment efficiency
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ชนิดของฟอสโฟลิพิด คอเลสเตอรอล และขนาดอนุภาค ต่อการเก็บกักซินนามาลดีไฮด์ในรูปแบบไลโปโซม ตำรับไลโปโซมถูกเตรียมขึ้นจากวิธีแบบฟิล์มบางด้วยอัตราส่วนโดยโมลระหว่างไขมันทั้งหมดและซินนามาลดีไฮด์ที่ 10:1 จากผลการทดลองพบว่าไลโปโซมชนิดผนังหลายชั้นที่เตรียมจากไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Phospholipon 90G) มีประสิทธิภาพการเก็บกักที่ดีกว่าไลโปโซมที่เตรียมจากไขมันชนิดอิ่มตัว (Phospholipon 90H) เมื่อทำการศึกษาโดยใช้อัตราส่วนโดยโมลระหว่างฟอสโฟลิปิด และคอเลสเตอรอลที่ 10:0, 8:2, 7:3 และ 5:5 ในการเตรียมไลโปโซมพบว่าประสิทธิภาพในการเก็บกักซินนามาลดีไฮด์ลดลงตามอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น โดยประสิทธิภาพการเก็บกักสูงสุดที่ 30% พบในไลโปโซมที่เตรียมจาก Phospholipon 90G เพียงอย่างเดียว (10:0) อย่างไรก็ตามเมื่อทำการลดขนาดอนุภาคลงเหลือ 200 nm พบว่าประสิทธิภาพการเก็บกักซินนามาลดีไฮด์ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จากการศึกษาการปลดปล่อยซินนามาลดีไฮด์ไลโปโซมด้วยวิธี dialysis พบว่าไลโปโซมสามารถชะลอเวลาในการปลดปล่อยซินนามาลดีไฮด์ได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับสารละลายซินนามาลดีไฮด์ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ และพัฒนาระบบนำส่งยาซึ่งมีไขมันเป็นองค์ประกอบต่อไป
abstract:
The objective of this project was to investigate various factors affecting the entrapment efficiency of cinnamaldehyde in liposome. These factors included types of phospholipids, incorporation of cholesterol and size of particle. In this study, liposomes consisting of total lipid and cinnamaldehyde at molar ratio of 10:1 were prepared by conventional thin film method. The obtained results revealed that multilamellar liposome prepared from unsaturated phospholipids (Phospholipon 90G) entrapped cinnamaldehyde with higher percentage than that prepared from saturated phospholipids (Phospholipon 90H). As varying molar ratio of phospholipid to cholesterol at 10:0, 8:2, 7:3 and 5:5, the entrapment efficiency was found to decrease upon incorporation of cholesterol. Liposomal cinnamaldehyde with maximum entrapment efficiency at approximately 30% was thus achieved by using only Phospholipon 90G (10:0) as structural lipids. However, reduction of particle size to 200 nm was found to decrease entrapment efficiency more than 2-fold. The release of cinnamaldehyde from liposomes was also investigated by dialysis technique. It was observed that release of cinnamaldehyde from liposomes was slightly retarded when compared to cinnamadehyde solution. Conclusively, this preliminary study provides useful information on factors affecting entrapment efficiency of cinnamaldehyde that are essential for further design and development of lipid drug delivery system.
.