การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

โดย: ปรางฉาย ทัศนัยนา,สุวิดา ตั้งตระกูลธรรม    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 41

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , เนติ สุขสมบูรณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การบริบาลเภสัชกรรม, โรคสมาธิสั้น, ADHD, Pharmaceutical care, attention deficit hyperactivity disorder, ADHD
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมและศึกษา ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น รวมถึงเพื่อสร้างทักษะและความชำนาญในการบริบาล ทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นและผู้ปกครอง โดยสืบค้นข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง รวมทั้งสังเกตอาการของผู้ป่วย หลังจากนั้นจึงได้ทำ การวิเคราะห์และค้นหาปัญหาจากการใช้ยา (Drug-related problem, DRP) และรายงานแพทย์ ผู้ทำการรักษาต่อไปจากการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น 20 คน ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 3 -16 ปี พบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 19 ครั้ง ได้แก่ ปัญหาใช้ยาแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ 5 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับ Ritalin® แล้วมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ, การไม่ได้รับยาที่แพทย์สั่งหรือได้ไม่ครบ 6 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยลืมรับประทานยามื้อกลางวัน, การเลือกใช้ยาที่ไม่ เหมาะสม 5 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา แล้วได้รับยา Melleril® , ปัญหาปฎิกิริยาระหว่างยา 2 ครั้ง เช่น การสั่งจ่ายยา Ritalin® ร่วมกับ Fluoxetine และ การไม่ได้รับยาที่สมควรจะได้รับ 1 ครั้ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์ผู้ทำ การรักษาเห็นด้วยตามที่รายงานทุกกรณี จากข้อมูลข้างต้น เภสัชกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก โรคสมาธิสั้น รวมทั้งให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ปกครอง ซึ่งจะช่วยให้ การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จากโครงการพิเศษครั้งนี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางใน การพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นต่อไปในอนาคตได้
abstract:
The objectives of this special project were to study pharmaceutical care and drug-related problems in children with ADHD and also to practice pharmaceutical care skill. The study was performed by reviewing from medical records, interviewing their parents and observing patients’ behaviors. Drug therapy was analysed and drug-related problems (DRP) were reported to treating physicians. The pharmaceutical care was performed in 19 cases age range between 3 – 16 years. Twenty-one drug-related problems (DRP) were identified. The DRP was problem secondary to adverse drug reactions (5/19) e.g. anorexia , insomnia in patients to receive Ritalin®; failure to receive prescribed drug (6/19) e.g.patients forget to get drug in lunch; improper drug selection (5/19) e.g. modulate MR patient receive Melleril®; drug interaction (2/19) e.g.fluoxetine in combination with Ritalin® and untreated indication (1/19). Nineteen interventions had been consulted and all were accepted by the treating physician. From this study shown that pharmacists can play a major role in solving drugrelated problems. Furthermore, pharmacists can educate and counsel parents concerning drug knowledge in order to increase the effectiveness of treatment. The data from this project can apply to develop model of pharmaceutical care for children with attention deficit hyperactivity disorder in the future.
.