การศึกษาปัญหาในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลยาสูบ |
โดย: งามพจน์ ล้วนสุวรรณ,ปิยะดา สดสง่า ปีการศึกษา: 2544 กลุ่มที่: 41 อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข , สมศักดิ์ วนาอินทาวุธ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ปัญหาในการรักษา, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วย, Diabetic patients, problems related to treatment, patient counselling |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน และ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการรักษา ได้ทำการศึกษาที่โรงพยาบาลยาสูบ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ามาติดตามผลการรักษาในเดือน พฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2544 พร้อมกับทำการสัมภาษณ์ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวทางโทรศัพท์ จากข้อมูลของผู้ป่วย 50 คน ร้อยละ 58.0 เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 46 – 75 ปี ประมาณ 2 ใน 3 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา เกือบทั้งหมดเป็นพนักงานหรือครอบครัวของพนักงาน ไม่ได้รับบริการจากสถานพยาบาลอื่น ร้อยละ 72.0 เป็นโรคเบาหวานมานานกว่า 5 ปี ร้อยละ 74.0 (37 ราย) มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก ทั้งๆ ที่ทดสอบแล้วว่า มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับดี ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก 3 ด้าน คือ การขาดข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับชนิดและวิธีใช้ยาของตนเอง การไม่ปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต และ ความไม่ตระหนักต่อการดูแลรักษา ในประเด็นของการไม่ปรับพฤติกรรม ได้แก่ การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ (ร้อยละ 74.0) การควบคุมอาหารไม่ได้ (ร้อยละ 78.0) การลืม รับประทานยา (ร้อยละ 63.0) ซึ่งมักจะละเลยไม่รับประทานยามื้อนั้นไป มีการใช้ยาไม่ถูกต้อง ( ร้อยละ 29.0) และไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง (ร้อยละ 42.0) ไม่มีการตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง (ร้อยละ 88.0) ในด้านความไม่ตระหนักต่อการรักษาพยาบาล พบว่า ผู้ป่วยคิดว่าการเป็นโรคเบาหวานเป็นเรื่องธรรมดา (ร้อยละ 46.0) มีความลำบากใจในการปฏิบัติตนในเรื่องต่างๆ (ร้อยละ 36.0) มีร้อยละ 90.0 คิดว่าจำเป็นต้องพบแพทย์สม่ำเสมอ แต่ในจำนวนนี้มีร้อยละ 20.0 ให้เหตุผลว่าเพื่อมาเอายาเพิ่มและร้อยละ 22.0 เพราะความเกรงใจแพทย์ผู้ดูแล ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการรักษาไม่ดี ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย ร่วมกับการกระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงผลจากการควบคุมโรคเบาหวานที่ดี และการปรับพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการจัดการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ |
abstract: The survey performed at Tobacco Hospital was aimed at to study of problems related to treatment of diabetic patients and factors affecting clinical outcome. The outpatient diabetic patients followed-up during May-August 2001 were selected. Data was collected by retrospective reviewing of medical records and telephone interviewing. Total of 50 diabetic cases with 58.0% female were included. Most of them were 46-75 years of age and about 2/3 finished Primary school. Almost were employees of the Tobacco Factory and their families. Seventy-two percent were suffered from diabetese longer than 5 years. Amongst them, 37 cases (74.0%) were not good control of blood sugar eventhough the evidence of good knowledge in diabetes was shown by test in this study. Three causes possibly leaded to those events were revealed. First was lack of knowledge of their own medications. Second was failure to modify life style and problems related to drug use : unusual exercise doing (74.0%), failure to control diet (78.0%), omit doses (63.0%), improper drug use (29.0%), non-compliance to physician’s directions and no self blood sugar monitoring (88.0%). And third was unconcern of good diabetic control : thought of diabetes as common and not serious diseases (46.0%), reluctant to modify their life style (36.0%). Ninety percent of cases kept track with the doctors on time because 20.0% of them concern of prescription refilling and 22.0% concern of their doctors. This study revealed that to encourage patient’s concern of treatment and life style modification as well as to educate diabetic patients were important factors in designing the effective patient couselling program. |
. |