พฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพ และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: น.ส.นันทิยา ฤทธิ์เดช,นายสถาพร ขนันไทย    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , ทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: แพ้ยา, ยาต้านจุลชีพ, เบต้าแลคแตม, พฤติกรรม, drug allergy, beta-lactams, antimicrobial agents, prescription pattern, clinical outcome, Ramathibodi Hospital
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงกรกฎาคม พ.ศ.2552 โดยทบทวนข้อมูลจากแบบบันทึกการรับคาปรึกษาสาหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่าแพ้ยาของหน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยา และโรคข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี และบันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยจัดทาขึ้น โดยคัดเลือกการแพ้ยาที่สงสัยว่าเกิดจากยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเป็นร้อยละของจานวนผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม ต่อผู้ป่วยทั้งหมด และแจกแจงลักษณะการแพ้ยาดังกล่าว แบ่งพฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพภายหลังการแพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมเป็น 5 แบบ สาหรับผลลัพธ์ทางคลินิกแจกแจงเป็นรอดชีวิต และเสียชีวิต ผลการศึกษามีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 83 คน เป็นเพศชาย 29 คน เพศหญิง 54 คน มีอายุเฉลี่ย 53.3 + 19.5 ปี พบการแพ้ยาจากยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม จานวน 81 เหตุการณ์ ในผู้ป่วย 75 คน จากผู้ป่วยที่สงสัยว่าแพ้ยาทั้งหมด 182 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 โดยพบว่าภายหลังจากการแพ้ยา แพทย์มีการใช้ยาต้านจุลชีพ ดังนี้ [1]ไม่ใช้ยาต้านจุลชีพชนิดใด 22 ครั้ง (ร้อยละ 27.2) [2]ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่เบต้าแลค แตม 33 ครั้ง (ร้อยละ 40.7) [3]ใช้ยาปฏิชีวนะเบต้าแลคแตมกลุ่ม carbapenems 10 ครั้ง (ร้อยละ12.3) [4]ใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมที่ไม่ใช่ carbapenems 14 ครั้ง (ร้อยละ 17.3) และ [5]ใช้ยาชนิดเดิมที่สงสัย 2 ครั้ง (ร้อยละ 2.5) ยังพบว่าพฤติกรรมการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตมที่ไม่ใช่ carbapenems ภายหลังจากสงสัยว่าแพ้ยามีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ระหว่างผู้ป่วยที่เกิดเหตุการณ์แพ้ยาแบบรุนแรง และไม่รุนแรง (p-value=0.02) เนื่องจากภายหลังจากผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาแล้วจาเป็นต้องติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าผู้ป่วยรอดชีวิต 57 คน (ร้อยละ 76.0) ภายหลังออกจากโรงพยาบาล 2 ปี ผลลัพธ์ทางคลินิกดังกล่าวอาจเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช้ยาภายหลังจากผู้ป่วยแพ้ยาด้วย ดังนั้นควรจะมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนยาต้านจุลชีพต่อไป
abstract:
This project aims to describe the prescription pattern of antimicrobial agent usage after beta-lactam allergy and clinical outcome of in-patient with beta-lactam allergy at Ramathibodi Hospital between August 2008 and July 2009. The patients who suspected of drug allergy during that period were consulted for evaluation and recorded their information in Drug Hypersensitivity Form which organized by Allergy Immunology and Rheumatology Division, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital. Drug Hypersensitivity Form were reviewed and selected only drug allergy resulted from beta-lactam antibiotics. Percentage of patients who exposed of beta-lactam antibiotics allergy and their manifestations were analysed. The prescription pattern of antimicrobial agent usage after beta-lactam allergy was divided into 5 categories whereas clinical outcome was classified by alive or death. Total 29 (34.9%) out of 83 patients who were recruited in the present study were male. Average age was 53.3 ฑ19.5 years old. The amount of beta-lactam allergy was 81 episodes in 75 patients out of 182 patients who suspected drug allergy and then were classified as following: [1] did not prescribe any antimicrobials by 22 episodes (27.2%), [2] prescribed other antimicrobials group which non beta-lactam antibiotics by 33 episodes (40.7%), [3] prescribed carbapenems beta-lactam antibiotics by 10 episodes (12.3%), [4] prescribed non carbapenems beta-lactam antibiotics by 14 episodes (17.3%) and [5] prescribed culprit drug by 2 episodes (2.5%). The non carbapenems beta-lactam antibiotics prescribing between severe and mild reaction were statistically significant difference (p-value=0.02). The long term of patient follow up with drug allergy is important and found that 57 patients (76.0%) have survived after 2 years follow up. The clinical outcome might related to pattern of drug utilization after allergic reaction occurring. Therefore, the factors affected to the prescribing pattern should be further determined.
.