ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ในผู้ป่วยเด็กภูมิคุ้มกันบกพร่อง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โดย: ธาราภรณ์ ปานดำ,สหัตยา พงศ์ประยูร    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 40

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข , ศรัญญา ไตรรัตน์เกยูร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา, ผู้ป่วยเด็ก, ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง, การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ป่วย , Drug related problems, pediatric patients, Immunodeficiency disorder, patient couselling
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาในผู้ป่วยเด็กภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เป็นผู้ป่วยนอก และศึกษาถึงปัจจัยบางประการของผู้ดูแลที่อาจส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยทำการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่มาพบแพทย์ตามนัดในระหว่างเดือนสิงหาคม–กันยายน 2544 และยินยอมให้สัมภาษณ์ในขณะรอรับยาที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกเปรียบเทียบกับข้อมูลจากเวชระเบียน จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 57 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 3–5 ปี ประมาณ 2 ใน 3 มีผู้ดูแลซึ่งมีอายุระหว่าง 21–40 ปี ร้อยละ 93.0 เป็นญาติสายตรง เกือบครึ่งหนึ่งมีอาชีพรับจ้าง มีรายได้เดือนละ 3,001–6,000 บาท ร้อยละ 59.6 มีผู้ช่วยในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ญาติผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่รักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพียงแห่งเดียว และอยู่ในโครงการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล จากการสัมภาษณ์มีผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีปัญหาในการดูแลสมควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร 30 คน เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของโรคและยา ได้แก่ ร้อยละ 54.4 คิดว่าการรักษานี้ไม่ทำให้หายจากความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ ร้อยละ 19.3 คิดว่ามีโอกาสติดต่อจากผู้ป่วยได้ ร้อยละ 59.6 ไม่ทราบชนิดของยาที่ให้ นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 21.1 มีการให้ยาไม่สม่ำเสมอ และ ร้อยละ 54.4 มีอาการผิดปกติหลังจากได้รับยา ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจหอบ ไอ (ร้อยละ 71.9) และมีฝ้าขาวในช่องปาก (ร้อยละ 54.4) ในด้านพฤติกรรมการรับประทานยาของเด็ก พบว่าผู้ป่วยเด็กร้อยละ 87.2 มีพฤติกรรมรับประทานยาง่าย ชอบรับประทานยาน้ำ และไม่ชอบอมยา ทำให้ผู้ดูแลส่วนใหญ่ไม่คิดว่ามีปัญหาในการให้ยา การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ทราบข้อมูลที่ดีในการจัดทำโครงการแนะนำการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป.
abstract:
The objectives of this study were to study drug related problems in ambulatory immunodeficiency pediatric patients and to study factors affecting patient care at home. The study was performed by face-to-face interviewing caregivers of patients followed-up during August-September 2001 and retrospective reviewing of the medical records. The consent forms were signed before interviewing. Fifty-seven cases were recruited and most of them were 3–5 years of age. About two-third stayed with 21–40 year-old female caregivers and 93% were taken care by close relatives. Half of caregivers were workers with salary of 3,001–6,000 bahts per month. After interviewing, 30 cases were considered for further couselling accordingly to problems possibly related to patient care. Major causes came from lack of good knowledge and misunderstanding about the disease and medication such as the attitude of immunodeficiency disorder as uncurable disorder (54.4%), or transmissionable situation (19.3%) and having no idea of drug name (59.6%). Non-compliance (21.1%) as well as having complications after administration were also found. Frequent complications such as uneasy to breath (71.9%), cough and oral candidiasis (54.4%) were reported. Concern of behavior of drug taking, 87.2% of pediatrics like to take medicine particularly oral preparations so that their caregivers easily gave medication to the kids. This study provided information necessary for future couselling program designing suitable for pediatric immunodeficiency clinic.
.