การเตรียมเครื่องดื่มสารสกัดมังคุดเข้มข้น

โดย: นางสาวธัชชามาศ สำรวมเพียรสกุล,นางสาวพารณี ปฐมพรวิวัฒน์    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 4

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี , วิมล ศรีศุข    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: มังคุด, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, โรคอัลไซเมอร์, Mangosteen extract, Antioxidant, Alzheimer’s disease
บทคัดย่อ:
จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งมีแนวโน้มในการเพิ่มความสามารถในการจดจาและป้องกันโรคสมองเสื่อมในมนุษย์จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ที่จะนาสารสกัดจากเปลือกมังคุดเข้มข้นมาทาเป็นเครื่องดื่มที่สามารถรับประทานได้ง่ายและมีรสชาติดี เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค ปริมาณสารสกัดเปลือกมังคุดเข้มข้นที่ใช้ในงานวิจัยนี้มีค่าเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการแปลงตัวเลขที่ได้ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง นาสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ใช้ในการทดลองมาทาการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay เปรียบเทียบฤทธิ์กับวิตามีนซี พบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ IC50 64.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่วิตามินซีมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่ IC50 6.04 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ด้วยวิธี Reactive Oxygen Species (ROS) assay พบว่า สารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง ROS ร้อยละ 281.00 นอกจากนี้เมื่อทาการทดสอบฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay โดยเปรียบเทียบฤทธิ์กับ paclitaxel พบว่า ค่า ED50ของสารสกัดเปลืองมังคุดมีค่าเท่ากับ 160.49 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ paclitaxel มีค่า ED50 1.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการทดลองดังกล่าวพบว่า สารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และไม่มีฤทธิ์ในการทาลายเซลล์ จึงนาสารสกัดเปลือกมังคุดมาผลิตเป็นเครื่องดื่มทั้งหมด 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 คือ น้าโกจิเบอร์รี่และผลไม้รวม 93.33%v/v และสารสกัด 6.67%v/v, สูตรที่ 2 คือ น้าโกโก้ 93.33%v/v สารสกัด 6.67%v/v และสูตรที่ 3 คือ พรุน 72.00%v/v, อินทผาลัม 21.33 %v/v และสารสกัด 6.67%v/v ซึ่งผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า เครื่องดื่มสูตรที่ 2 มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงที่สุดที่ IC50 17.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือ เครื่องดื่มสูตรที่ 1 และสูตรที่ 3 โดยมี IC50 42.44 และ 45.23 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ
abstract:
Many previous studies reported that mangosteen extracts were likely to have potential of enhancing memory and preventing Alzheimer's disease both in vitro and in vivo. This special project aimed to develop mangosteen extract to be a tasty beverage for an alternative to customers. The concentration of mangosteen extract in this study was used at 4 mg/kg/day which was referred to the effective dose converting from the animal study. An antioxidant activity of mangosteen extract was performed by DPPH assay compared with ascorbic acid, both substances had an antioxidant activity at IC50 64.27 and 6.04 ?g /ml, respectively. Testing the antioxidant activity in cells by reactive oxygen species (ROS) assay showed that the inhibition of the ROS was 281.00%. Study on the antiproliferation of cells by MTT assay compared with paclitaxel, the ED50 values were 160.49 and 1.27?g/ml, respectively. Finally, we prepared 3 preparations, which were Goji berries and fruits juice 93.33%v/v and mangosteen extract 6.67%v/v as preparation number 1, Cocoa 93.33%v/v and mangosteen extract 6.67%v/v as preparation number 2, and preparation Prune 72.00%v/v, Palm alums 21.33%v/v and mangosteen extract 6.67%v/v as preparation number 3. The antioxidant activity of 3 preparations by DPPH assay showed that preparation number 2 possessed the highest activity at IC5017.43 ?g/ml whereas preparation number 1 and 3 were 42.44 and 45.23 ?g/ml, respectively.
.