การเตรียมยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดหลายช่องเปิดโดยใช้ไฮโดรเจลเป็นสารก่อรู

โดย: สิริภัทร์ วิรัชอมรพันธ์, สุพินตา ปานน้อย    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 39

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , อำพล ไมตรีเวช , มนต์ชุลี นิติพน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: โปรปราโนลอล, povidone(PVP), ออสโมติคปั๊ม, สารก่อรู, propranolol, povidone (PVP), osmotic pump, pore former
บทคัดย่อ:
ในการเตรียมยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดหลายช่องเปิด สามารถสร้างช่องเปิดโดยการเติมสารที่ละลายน้ําได้ลงในสารก่อฟิล์ม ในการศึกษานี้ใช้ยาเม็ดโปรปราโนลอลเคลือบด้วย celluloseacetate และใช้ povidone (PVP) เป็นไฮโดรเจล ยาเม็ดโปรปราโนลอลเตรียมโดยวิธีแกรนูลเปียกมีส่วนประกอบต่อเม็ด คือ โปรปราโนลอล ไฮโดรคลอไรด้ 80 มิลลิกรัม เป็นตัวยาสําคัญ ฟรุกโตสและ แลกโตส อย่างละ 104 มิลลิกรัม เป็นสารช่วยให้เกิดแรงดันออสโมติค PVP K30 ร้อยละ 1 น้ําหนักโดยน้ําหนัก ละลายใน ethanol เป็นสารยึดเกาะ magnesium stearate ร้อยละ 2 talcum ร้อยละ 0.75 และ colloidal silica ร้อยละ 0.25 น้ําหนักโดยน้ําหนัก เป็นสารหล่อลื่นแกรนูลที่เตรียมได้นํามาตอกเป็นเม็ด ให้มีน้ําหนัก 300 มิลลิกรัม ด้วยเครื่องตอกยาเม็ดไฟฟ้าชนิดสากเดียว ใช้สากขนาด 9 มิลลิเมตร จากการประเมินผลของยาเม็ดแกน พบว่า ยาเม็ดมีน้ําหนักเฉลี่ย 306 มิลลิกรัม ความแข็งเฉลี่ย 12.1 กิโลกรัม ความกร่อน 0.06% เวลาในการแตกตัวเฉลี่ย 6.5 นาที และการละลายของตัวยาโปรปราโนลอล ที่เวลา 30 นาที เท่ากับ 55.4% ปริมาณตัวยาสําคัญ ละ 3 น้ําหนักโดยปริมาตร ใน acetone และ isopropyl alcohol เป็นสารก่อฟิล์ม โดยมีPVP K30 หรือ PVP K90 เป็นสารก่อช่องเปิด ผสมอยู่ที่ความเข้มข้นร้อยละ 12.5, 25 และ 50 โดยน้ําหนักของปริมาณ cellulose acetate เมื่อประเมินผล พบว่ายาเม็ดเคลือบทุกตํารับมี น้ําหนักและความแข็งเพิ่มขึ้นจากยาเม็ดแกน และความกร?อนลดลง เวลาในการแตกตัวมากกว่า 30 นาที การละลายของตัวยาโปรปราโนลอลมีการละลายเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ PVP ที่ใช้นอกจากนี้ยังพบว่า PVP ที่ความเข้มข้นเดียวกัน ในตํารับที่ใช้ PVP K90 ให้การละลายตัวยามากกว่า PVP K30 สรุปได้ว่ายาเม็ดโปรปราโนลอลออสโมติคป??มชนิดหลายช่องเปิดสามารถเตรียมได้ดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งชนิดและปริมาณของ PVP มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยาโปรปราโนลอลออกจากยาเม็ด จากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตํารับยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดหลายช่อง เปิดได้
abstract:
To create the openings for the multi-orifice osmotic pump tablets, a water soluble substance or hydrogel is added to the semipermeable film former solution. In this study, propranolol tablets were prepared and coated with cellulose acetate containing povidone (PVP) as hydrogel. Each tablet comprised 80 mg. of propranolol hydrochloride, 104 mg of each of fructose and lactose as osmogents, 1% PVP K30 in ethanol as binder, and 2% magnesium stearate, 0.75% talcum and 0.25% colloidal silica as lubricant system. The tablets were prepared by wet granulation process and compressed on a single punch press using 9 mm. tooling to the tablet weight of 300 mg.The core tablets were evaluated and found that the average weight, hardness, and friability were 306 mg, 12.1 kg, and 0.06%, respectively. The average disintegration time was 6.5 min. and the drug dissolved at 30 min. was 55.4%. The drug content was 100.5% of the labeled amount. The core tablets were coated with 3%w/v cellulose acetate in acetone and isopropyl alcohol solution containing PVP K30 or PVP K90 as pore former at concentrations of 12.5%, 25% and 50% by weight with respect to cellulose acetate. The coated tablets exhibited greater weight and hardness, and less friability. The tablets remained intact over 30 min. of disintegration testing. The drug dissolution increased with the PVP concentrations. At a given PVP concentration, PVP K90 gave higher dissolution than did PVP K30. In conclusion, the propranolol multiorifice osmotic pump tablets could be fabricated as described. Both amount and type of PVP affected the release of propranolol from the tablets. The findings could be used as a guide for the development of multi-orifice osmotic pump tablets.
.