ยาที่ใช้โดยผู้สูงอายุในครอบครัวของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
โดย: จงรักษ์ สกุลบริรักษ์,นีลกมล ภูมิภมร
ปีการศึกษา: 2545 กลุ่มที่: 39 อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ชนิดของยาที่ใช้ , ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ, สาเหตุของปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ, type of drugs, problem of drug use in elderly, causes of the problem of drug use in elderly |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ชนิดยาที่ใช้เป็นประจำในผู้สูงอายุ ปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุและสาเหตุของปัญหา การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในครอบครัวของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 120 คน จากข้อมูลที่ได้รับจำนวน 88 ข้อมูล พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ชาย ร้อยละ 35.2 ผู้หญิง ร้อยละ 64.2 เป็นผู้มีโรคประจำตัว ร้อยละ 85.2 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 14.8 โดยร้อยละ48.9 ของผู้มีโรคประจำตัวเป็น โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวานเป็น ร้อยละ 33.0 และโรคหัวใจเป็น ร้อยละ 23.9 จำนวนยาประจำที่ผู้สูงอายุใช้ต่อวันมีตั้งแต่ 0-14 ชนิด โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 18.2) ใช้ยา 2 ชนิด ยาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้คือ aspirin (ร้อยละ 17.0) สำหรับปัญหาในการใช้ยาที่พบมากเป็นอันดับแรกคือ การลืมรับประทานยา (ร้อยละ 35.2 และ วิธีแก้ปัญหาที่ผู้สูงอายุจะเลือกปฏิบัติเป็นอันดับแรกเมื่อไม่ได้รับประทานยาคือ รับประทานในมื้อถัดไปตามปกติ (ร้อยละ 52.3) ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาเป็นประจำ ซึ่งนักศึกษาเภสัชศาสตร์ควรมีบทบาทในการดูแลการใช้ยาของผู้สูงอายุในครอบครัวของตน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับประสิทธิผลในการรักษา |
abstract: The objectives of this study were to determine type of the drugs usually used by elderly patients, problems and their causes usually occurred in elderly patients. A questionnaire was designed and elderly persons in the families of the second to the fifth year Pharmacy students, Mahidol University were selected as study populationEighty-eight from 120 questionnaires were returned. There were more female than male (64.2% vs. 35.2%). Most had chronic disease (85.2%) and 14.9% had no chronic disease. The three leading causes of chronic disease were hypertension (48.9%), diabetes mellitus (33.0%) and cardiovascular disease (23.9%). The elderly took 0-14 types of drugs per day. Most of them took 2 types of drugs per day (18.2%). Aspirin was mostly used (17%). Forgetfulness was the major cause of failure to receive drugs (35.2%). Most elderly chose to resolve the problem by skip and take drug of the next meal (52.3%) It is concluded that elderly persons in Pharmacy students’ families, Mahidol University suffered from chronic disease, continuously took drugs, and had problems related to drug use. Pharmacy student should have role in caring drugs used by the elderly in their family in order to the elderly will receive the therapeutic effectiveness. |
. |