การประเมินการสั่งใช้ยาซีโปรฟลอกซาซินในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

โดย: นวลจันทร์ อิสสระพานิชกิจ,สุปราณี เวียนมานะ    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การประเมินการสั่งใช้ยา, ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง, อิมิเพเนม, โรงพยาบาล, Drug use evaluation, Broad spectrum antibiotic, Imipenem, Hospital
บทคัดย่อ:
อิมิเพเนมเป็นยาปฏิชีวนะที่ผู้เชี่ยวชาญทางโรคติดเชื้อเสนอแนะให้ใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะอื่นไม่ได้ผล เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและลดปัญหาการดื้อต่อยา การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินการสั่งใช้ยาอิมิเพเนม-ไซลาสแตติน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ จัดทำเกณฑ์การสั่งใช้ยา จัดเก็บข้อมูล และประเมินการสั่งใช้ยา จากการสำรวจในระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2543 มีผู้ป่วยได้รับยาอิมิเพเนม-ไซลาสแตติน 34 คน เป็นผู้ที่มีข้อมูลครบถ้วนนำเข้ามาประเมิน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 75.53 ซึ่งมีการใช้ยา 25 ครั้ง มูลค่าการใช้ยาโดยเฉลี่ย 21,630.09 บาท ร้อยละ 60.00 เป็นเพศชาย มีการใช้ยาในผู้ป่วยอายุ 5 เดือน–91 ปี โดยร้อยละ 52.00 อยู่ในวัยสูงอายุ ส่วนใหญ่ทราบแน่ชัดว่าเป็นการติดเชื้อชนิดใด ร้อยละ 80.00 เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล 1 ใน 3 จะมีการติดเชื้อจาก 2 แห่งพร้อมกัน ส่วนใหญ่เป็นโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุมากที่สุด คือ Pseudomonas aeruginosa สายพันธุ์ที่พบในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะอื่นมาก่อน โดยร้อยละ 96.00 มีความเกี่ยวเนื่องกับการใช้อิมิเพเนมครั้งนี้ เหตุผลส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนมาใช้อิมิเพเนมเนื่องจากผลการรักษาเดิมไม่ดีเท่าที่ควร มีเพียงบางส่วนเปลี่ยนไปตามผลการตรวจความไวของเชื้อ ระยะเวลาการใช้ยาเฉลี่ย 16 วัน หลังจากใช้ยาแล้วผู้ป่วยมีผลการรักษาในเกณฑ์ดีร้อยละ 48.00ในการประเมินการสั่งใช้ยา พบว่าร้อยละ 44.00 มีการใช้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ในจำนวนนี้ร้อยละ 72.70 มีการใช้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 1 ด้าน เกือบทั้งหมดเป็นด้านการตัดสินใจเลือกใช้ยา ซึ่งสามารถใช้ยาอื่นทดแทนได้อุปสรรคในการศึกษาครั้งนี้เกิดจากการบันทึกในเวชระเบียนไม่สมบูรณ์ และสำหรับโรงพยาบาล น่าจะมีมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่รัดกุมควบคู่กันไปด้วย
abstract:
Imipenem, a broad spectrum antibiotic, was suggested by Infectious specialists to be prescribed as the last choice in serious infection for the reasons of lower healthcare cost and decrease resistance rate. The retrospective DUE study was performed to evaluate the imipenem-cilastatin use in Somdej Pra Pinklao Hospital. The study was divided to 3 parts : setting up the criteria, reviewing medical records and evaluation of drug use pattern according to the criteria. There were 34 patients receiving imipenem during January – July 2000. Only 25 cases (75.53%) with complete database were included, resulted in 25 courses. The average value per course was 21,630.09 bahts. Male shared 60.00% of prescriptions. All subjects were 5 months – 91 years of age which 52.00 % were elderly. Most of them had got confirmed infection and 80.00% were hospital acquired infection. Two concurrent infection sites were reported in one – third of cases. Most patients had got pneumonia and urinary tract infection. Hospital strain of Pseudomonas aeruginosa was the leading causative agent. Other antibiotics used previously to imipenem during this hospitalization was found in 24 cases and 66.67% changed to imipenem because of unsatisfied therapeutic outcome. Changes according to culture and sensitivity result were considered in some cases. Mean duration of imipenem course was 16 days and 48.00% of cases improved after completed imipenem therapy.There were 44.00% found not comply with the criteria which 72.70% dealed with 1 aspect, almost of them were justification of use.The great barrier of this study was incomplete database. We also suggested to reorganize the infection control policy in hospital.
.