การประเมินความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาตามนโยบายการสั่งยาที่ดี

โดย: ตรีนุช ศรีหริ่ง,ธัญลักษณ์ เรืองมงคลเลิศ    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 37

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล , ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , พัชรินทร์ สุวรรณกูฏ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การประเมินความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยา, นโยบายการสั่งยาที่ดี, prescribing error, good prescribing practice policy
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาที่เกิดขึ้น ภายหลังการดำเนินการตามนโยบายการสั่งยาที่ดี (Good Prescribing Practice Policy) ของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดความ คลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา ทำการเก็บข้อมูลจากใบสั่งยาของแผนกผู้ป่วยนอก 9 แผนก ย้อนหลัง ทุกๆ 3 เดือน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2549 ถึง เดือนมิถุนายน 2550 ผลการศึกษาจากจำนวนใบสั่ง ยาทั้งหมด 3,030 ใบ พบรายการยาทั้งสิ้น 9,058 รายการ ใบสั่งยาทุกใบระบุข้อมูลชื่อ นามสกุล อายุและ HN ของผู้ป่วยครบถ้วน ร้อยละ 68.94 ของใบสั่งยาไม่มีการระบุข้อมูลประวัติแพ้ยา รายการยาที่ถูกระบุว่าผู้ป่วยแพ้มี 430 รายการ เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์ร้อยละ 51.40 โดยยาที่ถูกระบุมากที่สุดคือ penicillins (ร้อยละ 31.67) และ sulfonamides (ร้อยละ 20.81) พบการเขียนชื่อยาที่ใช้ตัวย่อที่ไม่เป็นสากลร้อยละ 11.60 เขียนชื่อยาผิดร้อยละ 0.77 และ ไม่ระบุรูปแบบของยา ไม่ระบุความแรงของยา ไม่ระบุวิธีใช้ยา และไม่ระบุจำนวนยาที่สั่ง ร้อยละ 93.06, 33.34, 1.36 และ 0.04 ตามลำดับ แพทย์ผู้สั่งยาไม่ระบุรหัสแพทย์ร้อยละ 0.60 และไม่ พบว่ามีการสั่งคู่ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า แพทย์ผู้สั่งยายังปฏิบัติตามนโยบายการสั่งยาที่ดีได้ไม่ครบทุก ขั้นตอน โดยเฉพาะการระบุข้อมูลประวัติแพ้ยาและการระบุรูปแบบของยา วิธีการที่จะลดความ คลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาที่อาจกระทำได้ ได้แก่ รณรงค์ให้แพทย์และเภสัชกรที่เกี่ยวข้อง ตระหนักในความสำคัญของประวัติการแพ้ยา เภสัชกรควรได้รับการอบรมวิธีการเก็บประวัติแพ้ยา ที่ถูกต้องและให้ความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาแก่ผู้ป่วย นำระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลของผู้ป่วย และรายการยาที่มีข้อมูลรูปแบบ ความแรง ตลอดจนวิธีใช้ มาช่วยในการสั่งใช้ยา
abstract:
The objectives of this special project were to identify the prescribing errors which occurred after the implementation of the Good Prescribing Practice Policy (GPPP) by Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital and to propose methods to reduce those errors. Prescriptions from 9 out-patient departments were retrospectively sampled every 3 months between October 2006 and June 2007. Of total 3,030 prescriptions, 9,058 items of medication were prescribed. Patient information including name, surname, age and hospital number was completely filled in all prescriptions. No drug allergy history were specified in 68.94% of all recruited prescriptions. Drug allergy history was recorded in 430 medications but only 51.40% were validated as true allergic reactions. Two top ranking medications were penicillins (31.67%) and sulfonamides (20.81%). Concerning the medication information, non-standard abbreviated name and wrong drug name were detected in 11.60% and 0.77%, respectively. Dosage form, strength, administration method, and quantity of prescribed medication were not indicated in 93.06%, 33.34%, 1.36% and 0.04%, respectively. No physician code was identified in 0.60%. No contraindicated drug interaction was found. The results suggested that physicians still ignored several aspects of the GPPP especially drug allergy history and clarification of dosage form. The importance of drug allergy history should be promoted to increase physicians’ and pharmacists’ awareness. Pharmacists should be trained to correctly identify drug allergy history and provide drug allergy knowledge to patient. Computerized system containing patient’s data and drug information including dosage form, strength and administration method should be used in prescribing process.__
.