การวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของไอบูโพรเฟนในการรักษาปวดศีรษะไมเกรนชนิดเฉียบพลัน

โดย: ผุสดี ปุจฉาการ, พิชามญชุ์ วิวัฒน์พาณิชย    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 37

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , นลินี พูลทรัพย์ ,    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: ไอบูโพรเฟน, ปวดศีรษะไมเกรน, การวิเคราะห์อภิมาน, Ibuprofen, Migraine, Meta-analysis.
บทคัดย่อ:
ไอบูโพรเฟนเป็นยาบรรเทาอาการอักเสบที่มิใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) ที่นิยมนำมาใช้เพื่อ รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดเฉียบพลัน มีการศึกษาถึงผลของไอบูโพรเฟนกับการรักษา อาการปวดศีรษะไมเกรน ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ถึงผลดังกล่าวของไอบูโพรเฟน คำที่ใช้สืบค้นงานวิจัย คือ “Ibuprofen” และ “Migraine” โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล “Medline”, “Elsevier” และ “Cochrane Controlled Trails Register 3 rd Quarter 2005” ระหว่างปี ค.ศ.1985 – 2005 โดย จำกัดเพียงงานวิจัยชนิด randomized controlled trial (RCT) ผลการสืบค้นพบ 6 รายงานการ วิจัยที่ศึกษาผลของยาในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดเฉียบพลันและมีเพียง 3 รายงานที่ เข้าเกณฑ์การศึกษาวิเคราะห์อภิมาน รวมจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,096 คน ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า ไอบูโพรเฟนขนาด 400 มิลลิกรัมมีประสิทธิภาพในการลด อาการปวดศีรษะไมเกรนจากระดับปวดมากหรือปานกลางเหลือเพียงปวดน้อยหรือไม่ปวดที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=2.01, 95%CI=1.31-3.08, p=0.0014; NNT=4), ทำให้ไม่มีอาการปวดศีรษะ ไมเกรนที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=2.31, 95%CI=1.67-3.18, p<0.0001) และทำให้หายจากอาการกลัวแสงและอาการกลัวเสียงที่เวลา 2 ชั่วโมง (RR=1.28, 95%CI=1.06 -1.56, p=0.0119;RR=1.49, 95%CI=1.22-1.82, p=0.0001 ตามลำดับ) ได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความสามารถในการทำให้ผู้ป่วยไม่มีการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดศีรษะไมเกรนภายใน 24 ชั่วโมง พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=2.25, 95%CI=0.32-15.72, p=0.4148) จากผลการวิเคราะห์อภิมาณสรุปได้ว่า ไอบูโพรเฟนขนาด 400 มิลลิกรัมสามารถใช้รักษา อาการปวดศีรษะไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
abstract:
Ibuprofen is non-steroidal anti-inflammatory drug (NSAIDs) which has been frequently used in the treatment of acute migraine attacks. There were some clinical data investigating this effect of ibuprofen. We have performed systematic review and meta-analysis of these studies. The following medical subject heading search terms “ibuprofen” and “migraine” were searched in “Medline”, “Elsevier” and “Cochrane Controlled Trials Register 3rd Quarter 2005” from 1985 to 2005. In this search, limitation was “Randomized Controlled Trials (RCT)”. It was found that six trials from these databases involved in treatment of acute migraine attacks. Three from six trials were eligible for meta-analysis. The total number of patients from these three studies were 1,096. The results from meta-analysis revealed that 400 mg ibuprofen was statistically significant more effective than placebo in relieving pain from severe or moderate to mild or no pain at 2 hours (RR=2.01, 95%CI=1.31-3.88, p=0.0014; NNT=4, 95%CI=2-9), pain free at 2 hours (RR=2.31, 95%CI=1.67-3.18, p<0.0001), photophobia and phonophobia free at 2 hours (RR=1.28, 95%CI=1.06-1.56, p=0.0119 and RR=1.49, 95%CI=1.22-1.82, p=0.0001, respectively). There is no significant difference between 400 mg ibuprofen and placebo in sustained 24 hours pain free (RR=2.25, 95%CI=0.32- 15.72, p=0.4148). From the meta-analysis results, it was concluded that ibuprofen was effective in acute migraine attacks.
.