การพัฒนาตารับเจลบารุงผิวจากสารสกัดธรรมชาติ

โดย: นายจิตรทิวัส สิริวรรณภา , นายจิรพงศ์ รอดปรีชา    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 36

อาจารย์ที่ปรึกษา: วารี ลิมป์วิกรานต์ , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ,    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เจล เห็ดเยื่อไผ่ สารสกัดธรรมชาติ สารต้านอนุมูลอิสระ, Gel, bamboo fungus, Natural extracts, Antioxidant
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้คือเพื่อศึกษาวิธีสกัดสารสาคัญจากสมุนไพร การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัด และพัฒนาตารับเจลบารุงผิวจากสารสกัดธรรมชาติ ในงานวิจัยนี้เลือกศึกษาเมือกเห็ดเยื่อไผ่ (Dictyophora indusiata Fisch.) ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่ามีสรรพคุณคล้ายเมือกหอยทากแต่ยังไม่พบงานวิจัยใดรองรับ โดยทาการทดสอบหาสารสาคัญในเมือกเห็ดเยื่อไผ่ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง พบว่า เมือกเห็ดเยื่อไผ่ไม่มีสารอัลลันโทอินและกรดไกลโคลิก นอกจากนี้ทาการศึกษาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ปริมาณโพลิแซกคาไรด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสในตัวอย่างเมือกเห็ดเยื่อไผ่ สารสกัดน้าและสารสกัดเอทานอลของเห็ดเยื่อไผ่ รวมถึงสารสกัดเชอร์รี่ไทย (Malpighia glabra L.) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในตารับเจลที่จะพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า เมือกเห็ดเยื่อไผ่มีสารกลุ่มโพลิแซกคาไรด์ (49.72%) และมีสารกลุ่มฟีนอลิกเล็กน้อย (0.53%) สารสกัดเชอร์รี่ไทยมีทั้งโพลิแซกคาไรด์ สารประกอบฟีนอลิก และสารประกอบฟลาโวนอยด์ (48.00, 18.29 และ 0.44% ตามลาดับ) การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดเชอร์รี่ไทยมีฤทธิ์สูงสุด รองลงมาคือสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้าของเห็ดเยื่อไผ่ (0.0376, 1.6382 และ 3.9685 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ) เมือกเห็ดเยื่อไผ่ไม่สามารถหาค่า IC50 ได้ ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสยังไม่สามารถสรุปได้ จากการพัฒนาตารับเจลบารุงผิวที่มีส่วนประกอบสาคัญคือเมือกเห็ดเยื่อไผ่ สารสกัดเชอร์รี่ไทยและสารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana L.) พบว่าเจลที่เตรียมโดยใช้ Carbopol® Ultrez 21, Carbopol® 940 และ Carbopol® 941 เป็นสารก่อเจล และใช้เมือกเห็ดเยื่อไผ่ที่ผ่านการทาแห้งเยือกแข็งเป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น มีความคงตัวในสภาวะเร่งที่ใช้อุณหภูมิร้อน (40 °C 24 ชั่วโมง) สลับเย็น (4 °C 24 ชั่วโมง) ได้ตลอด 6 รอบการศึกษา
abstract:
The objectives of this special project were to study about the herbal extraction method and activity testing and to develop the skin care gel from herbal extract. In this study, the bamboo fungus (Dictyophora indusiata Fisch.) mucilage was selected. It is claimed that the bamboo fungus mucilage has similar properties as snail mucilage. However there are no supporting scientific researches. The phytochemical screening of the bamboo fungus mucilage by thin layer chromatography was performed. It was found that the bamboo fungus mucilage contained no allantoin and glycolic acid. In addition, the screening of total phenolic, total flavonoid, total polysaccharide content, antioxidant activity and anti-tyrosinase activity of the bamboo fungus mucilage, aqueous and ethanol extract of the bamboo fungus and acerola cherry extract (Malpighia glabra L.), which was one of active ingredients used in the gel formulation, were studied. The results showed that the bamboo fungus mucilage had polysaccharides (49.72%) and a small amount of phenolic compounds (0.53%). Acerola cherry extract had polysaccharides (48.00%), phenolic (18.29%) and flavonoid compounds (0.44%). Antioxidant activity of acerola cherry extract was the highest and followed by ethanol extract and aqueous extract of the bamboo fungus mucilage (0.0376, 1.6382 and 3.9685 mg/mL, respectively). However IC50 of bamboo fungus mucilage cannot be identified. Anti-tyrosinase activity testing could not be summarized. To develop the formulation of skin care gel containing freeze dried bamboo fungus mucilage, acerola cherry extract and mangosteen extract (Garcinia mangostana L.), formulations using Carbopol® Ultrez 21/ 940/ 941 as gelling agent and freeze dried bamboo fungus mucilage as humectant were stable in the temperature programming stability test (40 °C for 24 h and 4 °C for 24 h) for 6 cycles.
.