ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้าน (2)

โดย: วรรณวิมล สุขเสมอกุล, สุหทัย ทองสมจิตต์    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 36

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ผักพื้นบ้าน, ทามัง, แซะ, โหระพาน้า, ยอดแค, เปราะหอม, ยอดฟักทอง, มันห้านาที, เร่วหอม, หน่อกระทือ, ต่อไส้, free radical scavenging activity , Litsea elliptica, Callerya atropurpurea, Limnophila sp., Horaphanam, Sesbania grandiflora, Kaempferia galanga, Cucurbita moschata, Manihot esculenta, Alpinia oxymitrum, Zingiber zerumbet, and Allophylus cobbe.
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านจานวน 10 ชนิด ได้แก่ ใบทามัง, ใบแซะ, ใบโหระพาน้า, ยอดแค, ใบเปราะหอม, ยอดฟักทอง, ใบมันห้านาที, เหง้าเร่วหอม, หน่อกระทือ และใบต่อไส้ สกัดสารสาคัญจากผักแต่ละชนิดด้วย methanol 80% ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดผักทั้ง 10 ชนิด ด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดจากทามังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 4.15 μg/mL รองลงมาคือ สารสกัดจากต่อไส้, มันห้านาที, เร่วหอม, โหระพาน้า, เปราะหอม, ยอดฟักทอง, แซะ, ยอดแค และหน่อกระทือ ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 20.03, 28.28, 78.48, 160.51, 321.93, 386.10, 460.54, 1520.80 และ 1659.68 μg/mL ตามลาดับ สาหรับค่า IC50 ของสารมาตรฐาน คือ Trolox และ Vitamin C มีค่า 6.52 และ 8.03 μg/mL ตามลาดับ ส่วนวิธีที่สองคือ Reducing power assay สารสกัดจากทามังมีฤทธิ์สูงสุด รองลงมาคือสารสกัดจากมันห้านาที, ต่อไส้, เร่วหอม, เปราะหอม, โหระพาน้า, แซะ, ยอดฟักทอง, ยอดแค และหน่อกระทือ ตามลาดับ สาหรับการหาปริมาณฟีโนลิครวม พบว่า ทามังมีปริมาณปริมาณฟีโนลิครวมมากที่สุด รองลงมาคือ มันห้านาที, ต่อไส้, เร่วหอม, แซะ, ยอดฟักทอง, โหระพาน้า, ยอดแค, เปราะหอม และหน่อกระทือ ตามลาดับ
abstract:
The purpose of this project was to evaluate the free radical scavenging activity of ten Thai vegetables : Litsea elliptica Blume leaves, Callerya atropurpurea (Wall.) A.M.Schot leaves, (Limnophila sp.) Horaphanam leaves, Sesbania grandiflora (L.) Desv. young leaves, Kaempferia galanga L. leaves, Cucurbita moschata Decne leaves, Manihot esculenta (L) Crantz leaves, Alpinia oxymitrum K.Schum. rhizomes, Zingiber zerumbet (L.) Smith roots, and Allophylus cobbe (L) Raeusch leaves. These samples were extracted using 80% methanol for 7 days. The free radical scavenging activity were determined by DPPH method. It was shown that the extract of Litsea elliptica leaves possessed the most potent activity at IC50 of 4.15 μg/ml, while by A. cobbe, M. esculenta, A. oxymitrum, Limnophila sp., K. galangal, C. moschata, C. atropurpurea, S. grandiflora and Z. zerumbet had IC50 at the concentration of 20.03, 28.28, 78.48, 160.51, 321.93, 386.10, 460.54, 1520.80 and 1659.68 μg/mL respectively. The IC50 concentration of Trolox and Vitamin C were 6.52 and 8.03 μg/mL respectively. The Litsea elliptica leaves extract also showed the most reducing power as well as the high total phenolic content when compare to other extracts.
.