การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของตำรับสมุนไพรอายุวัฒนะของไทย

โดย: น.ส.สิริเพ็ญ เลื่อนเชย, น.ส. สิริรัตน์ เตียงกูล    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 36

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, ตำรับสมุนไพรอายุวัฒนะของไทย, ทิ้งถ่อน, ตะโกนา, บอระเพ็ด, แห้วหมู , ข่อย,พริกไทย, antioxidant, Thai traditional formula, Albizia procera, Diospyros rhodocalyx, Tinospora crispa, Cyperus rotundus, Streblus asper, Piper nigrum
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของตำรับสมุนไพรอายุวัฒนะของไทยตำรับหนึ่ง ที่ประกอบ ด้วย สมุนไพร 6 ชนิด ได้แก่ เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา บอระเพ็ด แห้วหมู เมล็ดข่อยและ พริกไทย โดยการสกัดด้วย 95% Ethanol จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ ทำให้เข้มข้นด้วยเครื่องระเหย แห้งสูญญากาศ (Rotary vacuum evaporator) ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสารสกัด จากตำรับสมุนไพร และสารสกัดจากสมุนไพรทั้ง 6 ชนิดด้วยวิธี DPPH method เปรียบเทียบกับ วิตามินซี และ วิตามินอี (Trolox) ซึ่งเป็นสารมาตรฐาน และทำการทดสอบสารสกัดต่อด้วยวิธี AAPH hemolysis method ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบจากค่า IC50 โดยวิธี DPPH method พบว่า สารสกัดจากเปลือกทิ้งถ่อนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดของตำรับ อายุวัฒนะ แห้วหมู พริกไทย เปลือกตะโกนา บอระเพ็ด เมล็ดข่อย โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 44.34, 187.62, 235.91, 1,111.39, 1,285.09, 1,324.25, 8,603.57 μg/ml ตามลำดับ สำหรับวิตามินซี มีค่า IC50 17.47 μg/ml และ วิตามินอี ค่า IC50 22.75 μg/ml ส่วนวิธี AAPH hemolysis method พบว่าฤทธิ์ยับยั้งการแตกเม็ดเลือดแดง ของสารสกัดเปลือกทิ้งถ่อนมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือสาร สกัดจากตำรับอายุวัฒนะ แห้วหมู เปลือกตะโกนา พริกไทย บอระเพ็ด และเมล็ดข่อย (ความ เข้มข้นของสารสกัดแต่ละชนิดเท่ากับ 5 mg/ml) โดยสามารถยืดเวลา 50% hemolysis จาก 78 นาที ในกลุ่มควบคุม เป็น 157, 142, 126, 114, 108, 101, 100 นาทีตามลำดับ โดยที่เวลา 50% hemolysis ของวิตามินอี (0.5 mg/ml) มีค่า 160 นาที การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่า สาร สกัดจากตำรับอายุวัฒนะ ทิ้งถ่อนและแห้วหมูมีสารกลุ่ม phenolic compound, tanninและ flavonoids สารสกัดจากพริกไทย ตะโกนา และข่อย มีสารกลุ่มphenolic compounds และ flavonoids ส่วนสารสกัดจากบอระเพ็ดมีสารกลุ่ม phenolic compounds
abstract:
Antioxidant properties of a Thai traditional formula for longevity which is composed of 6 herbs as follows:Albizia procera,Diospyros rhodocalyx,Tinospora crispa Cyperus rotundus, Streblus asper, Piper nigrum were studied. Each herb including the formula was extracted by 95% ethanol and concentrated by using vacuum evaporator. The antioxidant properties were detected by DPPH method. Vitamin C and Trolox were used as reference standard.The in vitro oxidative hemolysis of sheep red blood cells was used as a model to study the free radical-induced damage of biological membranes by using AAPH. From DPPH method it was showed that Albizia procera extract possessed the most potent properties(IC50 44.34 μg/ml).From AAPH hemolysis method it was found that Albizia procera, the formula,Cyperus rotundus,Diospyros rhodocalyx,Piper nigrum,Tinospora crispa andStreblus asper extracts could prolong the time of 50%hemolysis from 78 minutes in control group to 157,142,126,114,108,101,100 minutes, respectively, while the time of 50%hemolysis of 0.5 mg/ml trolox was 160minutes.The phytochemical screening tests showed the presence of phenolic compounds, tannins and flavonoids in the formula and Cyperus rotundus, Albizia procera, phenolic compounds and flavonoid in Piper nigrum, Diospyros rhodocalyx and Streblus asper. Only phenolic compounds was found in Tinospora crispa extract.
.