การห่อหุ้มน้ามันมะพร้าวโดยใช้ มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลง |
โดย: นางสาว นันทนัช กรรณสูตร, นางสาว ภัทราพร ชุณหกมลรักษ์ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 35 อาจารย์ที่ปรึกษา: วีนา นุกูลการ , มนตรี จาตุรันต์ภิญโญ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น, ไมโครเอ็นแคปซูเลชัน, การพ่นแห้ง, มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลง, ออกทีนิลซักซินิกแอนไฮร์ด, ไฟเบอร์โรส, cold pressed coconut oil, microencapsulation, spray drying, maltodextrin, octenyl succinic anhydride, virgin coconut oil, Fiberose |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาการทาไมโครเอนแคปซูเลชันของน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น โดยใช้มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลงเป็นสารห่อหุ้ม โดยศึกษาอัตราส่วนมอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัด แปลงต่อน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นต่างๆ ได้แก่ อัตราส่วน 3:1, 2:1 และ 1:1 นอกจากนี้ได้มีการเติมไฟเบอร์โรสในปริมาณต่างๆ ลงไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการห่อหุ้มน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นให้ดียิ่งขึ้น โดยเติมลงไปในปริมาณ 30%, 40% และ 50% ตามลาดับ ในการเตรียมผงแห้งเริ่มจากการเตรียมเป็นอิมัลชัน ก่อนนาไปพ่นแห้งที่อุณหภูมิเข้า 190C และอุณหภูมิออก 120C ลักษณะทางกายภาพของผงแห้งที่ได้มีสีครีม และสีจะเข้มขึ้นตามปริมาณของมอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลงที่เติมลงไป จากนั้นนาผงแห้งของน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่ได้จากตารับที่ใช้มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลงและไฟเบอร์โรสในปริมาณต่างๆ ไปศึกษารูปร่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าอนุภาคที่ได้มีลักษณะกลม และมีลักษณะเฉพาะคือ ที่ผิวเป็นหลุมขรุขระ ตารับที่มีการเติมไฟเบอร์โรสจะมีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า และมีความชื้นมากกว่าตารับที่ไม่เติมไฟเบอร์โรส และพบว่าผงแห้งที่เตรียมได้มีคุณสมบัตการไหลที่ไม่ดี การวิเคราะห์หาปริมาณน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่ถูกห่อหุ้มในผงแห้งทาโดยการสกัดด้วยตัวทาละลาย พบว่าตารับที่ใช้มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลงและน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นในอัตราส่วน 3:1 และตารับที่ใช้มอลโตเดกซ์ตรินชนิดดัดแปลงและน้ามันมะพร้าว ที่อัตราส่วนเดิมร่วมกับเติมไฟเบอร์โรส 50% สามารถเก็บกักปริมาณน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นได้สูงสุด คิดเป็น 21.76% และ 20.46% ตามลาดับ นอกจากนี้การตรวจสอบเอกลักษณ์ของน้ามันมะพร้าว สกัดเย็นที่ถูกห่อหุ้มในผงแห้งด้วยวิธี infrared spectroscopy พบว่ามีกรดลอริก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ พบมากที่สุดในน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นอยู่จริง |
abstract: The study aimed to investigate the microencapsulation of a cold pressed coconut oil using a modified maltodextrin as a wall material. The effect of various compositions of the wall material and different amounts of the cold pressed coconut oil on the encapsulation efficiency (EE) of the microcapsules were evaluated. The microcapsules were prepared from the mixtures of the modified maltodextrin and the cold pressed coconut oil in the ratio of 3:1, 2:1, and 1:1. Furthermore, 30%, 40%, and 50% of the branch chain maltodextrin (Fiberose®), another wall material, were added to the mixture to evaluate their effects on the EE. The light yellow powder was obtained after spray drying and would be darkened with the increase of the modified maltodextrin proportions. The product morphology was carried out using a scanning electron microscope (SEM). The external morphology of the cold pressed coconut oil microcapsules revealed slightly circular structure with a minimum crack and dent on the surface. The flowability test of the powder showed rather poor result. The quantitative analysis of the micorcapsules was analyzed using the solvent extraction method. The highest encapsulation efficiency of 21.76% was found in the mixture ratio of 3:1. By adding various amounts of Fiberose®, however, the efficiency was slightly decreased. The addition of 50% Fiberose® turned out to provide better efficiency (20.46%), comparatively. Nevertheless, the addition of Fiberose® improved the encapsulation yield. The lauric acid was also found in the microcapsules. |
. |