การพัฒนาแผ่นแปะรักษาสิวจากสารสกัดมังคุดและกานพลู |
โดย: นายวฤณ ปัญญาทิยกุล ,น.ส.ณัฐกาน รื่นเกษม ปีการศึกษา: 2556 กลุ่มที่: 35 อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: สิว, สารสกัดมังคุด, น้ามันกานพลู, แผ่นแปะรักษาสิว, Acne, Mangosteen extract, Clove oil, Anti-acne patch |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตารับแผ่นแปะสารสกัดมังคุดและน้ามันกานพลู จากงานวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดมังคุดมีสารสาคัญคือ α-mangostin และในน้ามันกานพลูมีสารสาคัญคือ eugenol ซึ่งสารทั้งสองมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus spp. ที่กระตุ้นการเกิดหนองและสิวอักเสบ ในการศึกษานี้ใช้สารสกัดมังคุดและน้ามันกานพลูมาจากสารสาเร็จรูปในทางการค้า ซึ่งนามาควบคุมคุณภาพโดย TLC-fingerprint และ densitometric method สาหรับผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดมังคุดพบว่าค่า MBC ต่อ P. acnes และ S. aureus เท่ากับ 39 และ 78 μg/ml ตามลาดับ ส่วนค่า MBC ของน้ามันกานพลู ต่อ S. aureus เท่ากับ 1.25 mg/ml และค่า MIC ของน้ามันกานพลู ต่อ P. acnes เท่ากับ 0.625 mg/ml ต่อมาได้ทาการทดสอบเพื่อหาการเสริมฤทธิ์กันของสารสกัดทั้ง 2 ชนิดพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดไม่มีฤทธิ์เสริมกัน การตั้งตารับแผ่นแปะใช้ polyvinyl pyrrolidone (PVP), polyvinyl alcohol (PVA) และ glycerin เพื่อศึกษาสูตรตารับที่ดีที่สุด ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ และฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เปรียบเทียบกับ 0.3 mg/ml clindamycin พบว่าตารับที่ดีที่สุดประกอบด้วยสารก่อฟิล์ม คือ PVP: PVA ในอัตราส่วน 1:2 w/w และ glycerin 2% v/v เป็นพลาสติไซเซอร์ ทั้งนี้แผ่นแปะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวทั้ง 2 ชนิด โดยเกิดวงใสเส้นผ่านศูนย์กลางต่อเชื้อ P. acnes และ S. aureus เท่ากับ 2.31 และ 2.09 ซม. ตามลาดับ เมื่อเทียบกับ clindamycin ซึ่งเกิดวงใสเส้นผ่านศูนย์กลางต่อเชื้อ P. acnes และ S. aureus เท่ากับ 1.78 และ 2.15 ซม. ตามลาดับ อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบความคงตัวของแผ่นแปะสารสกัดมังคุดและน้ามันกานพลู และศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดสิวในมนุษย์ต่อไป |
abstract: The aim of this special project was to develop anti-acne patch from the mangosteen extract and clove oil. The previous study showed that mangosteen peel extract and clove oil including active compounds, α-mangostin and eugenol, respectively, had antimicrobial activities against Propionibacterium acnes and Staphylococcus spp. This study used mangosteen extract and clove oil from commercial products. The quality control of the mangosteen extract and clove oil was performed by TLC-fingerprint and densitometric method. The MBC of mangosteen extract against P. acnes and S. aureus were 39 and 78 μg/ml, respectively. The MIC of clove oil against P. acnes was 0.625 mg/ml while its MBC against S. aureus was 1.25 mg/ml. But 2 compounds did not have synergistic effect. In the patch formulation development, polyvinyl pyrrolidone (PVP), polyvinyl alcohol (PVA) and glycerin were used to obtain the best formula. Each patch was assessed in physical property and anti-microbial effect comparing with 0.3 mg/ml of clindamycin. The results indicated that the best mangosteen extract and clove oil patch formula including PVP 1.7%w/v, PVA 3.3%w/v and glycerin 2%w/v had the clear zone against P. acnes and S. aureus and were 2.31 and 2.09 cm in diameter, respectively, whereas that of clindamycin against P. acnes and S .aureus were 1.78 and 2.15 cm in diameter, respectively. Nevertheless, this anti-acne patch should be tested about stability and clinical studies in further studies. |
. |