การศึกษาฤทธิ์ต้านอะเซติลโคลีนเอสเทอเรสของผักพื้นบ้าน

โดย: พราววีร์ ลิ่มทอง , พัณณิตา วัฒนเรืองชัย    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 35

อาจารย์ที่ปรึกษา: นันทวัน บุณยะประภัศร , วรวรรณ กิจผาติ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ฤทธิ์ต้านอะเซติลโคลีนเอสเทอเรส, ผักพื้นบ้าน, สารสกัดหวายลิง, actylcholinesterase inhibitor, local vegetable
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาสารต้านฤทธิ์เอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสของฝักพื้นบ้านไทย โดยการศึกษานี้ใช้สารสกัดแอลกอฮอล์ 70%ของกล้วยน้ำว้า ชะคราม ผักขี้ขวง ผักเบี้ยทะเล ผักเบี้ยหิน ผักแปม ผักหวานป่า สะแล และหวายลิง มาทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสเบื้องต้น ด้วยวิธี Thin layer chromatography (TLC) ร่วมกับวิธีทดสอบทางชีวภาพ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดผักพื้นบ้านที่มีจำนวนสารที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลดคลีนเอสเทอเรสมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ชะคราม (ดอก) ผักแปม และสะแล ส่วนผักที่ไม่แสดงสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ได้แก่ กล้วย ผักเบี้ยทะเล ผักเบี้ยหิน และหวายลิง จากนั้นนำสารสกัดผักพื้นบ้านทั้งหมดที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มาทดสอบหาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลียเอสเทอเรสตามวิธีของ Eliman โดยใช้ 96-welled microplates ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากหวายลิงมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสดีที่สุด โดยยับยั้งได้ 75.73 ± 0.67% รองลงมาคือผักแปม (43.61 ± 0.49%) ส่วนสารสกัดอื่นๆ ที่เหลือมีฤทธิ์ยับยั้งน้อยกว่า 30% จึงนำสารสกัดจากหวายลิงมาทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านฤทธิ์เอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสได้ร้อยละ 50 (IC50) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากหวายลิงมีค่า IC50 เท่ากับ 349.38 ± 5.77 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากยอดของหวายลิงมีประสิทธิภาพดีในการต้านฤทธิ์เอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพื่อหาสารสำคัญจากสารสกัดหวายลิงที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสต่อไป
abstract:
The objective of this special project was to investigate the inhibition of acetylcholinesterase activity of some Thai vegetables. In this study, anticholinesterase inhibition activity of methanolic extracts (70%) of Musa sapientum, Suaeda maritima, Glinus oppositifolius, Sesuvium portulacastrum L., Trianthema portulacastrum L., Eleutherococcus trifoliatus, Leptonycnia heteroclita Kurz, Broussonetia kurzii Corner and Flagellaria indica L. were screened by using Thin layer chromatography (TLC). The top three extracts which exhibited highest numbers of substances with anticholinesterase inhibition activity were those from L. heteroclita Kurz, S. maritime (leaves), and G. oppositifolius. The extracts of S. maritime (flowers), E. trifoliatus, and B. kurzii Corner showed fewer substances while those of M. sapientum, S. portulacastrum L., T. portulacastrum L., and F. indica L. exhibited none of the substances. Then, all extracts were determined for % inhibition value by using Ellman8s colorimetric method in 96-well microplates. The results showed that the extract of F. indica exhibited the highest inhibition at the concentration of 500 μg/ml (75.73±0.67%) followed by the extract of E. trifoliatus (43.61±0.49%). The others showed the AChE inhibitory activity below 30%. Finally, F. indica L. extract was determined for the concentration required to give 50% inhibition of the AChE activity (IC50). The result revealed IC50 value of F. indica L. extract was 349.38±5.77 μg/ml. This study presented that the shoots of F. indica L. extract had high potential in AChE inhibition. Futher study on isolation of active constituents in the shoots of F. indica L. extract should be carried out.
.