การศึกษาเจตคติของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ต่อการใช้ยาจากสมุนไพร

โดย: จตุพร คงกิตติมากุล, อังคณา วิญญูวิริยวงศ์    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 35

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: เจตคติ, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, ยาจากสมุนไพร, Attitudes, Pharmacy students, Herbal medicine
บทคัดย่อ:
เภสัชกรเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำและให้ข้อมูลด้านสมุนไพรที่ ถูกต้องแก่บุคลากรสาธารณสุขอื่นและประชาชนทั่วไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติ ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบวัดเจตคติต่อการใช้ยาจากสมุนไพรที่มี เนื้อหาครอบคลุมในเรื่องประสิทธิภาพ (Efficacy) ความปลอดภัย (Safety) คุณภาพ (Quality) การ เข้าถึงและการมีให้ใช้ได้ (Accessibility) ทำการศึกษาเจตคติของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่กำลังศึกษา ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1, 3 และ 5 รวมทั้งสิ้น 297 คน มีจำนวนนักศึกษาชั้น ปีที่ 1, 3 และ 5 ที่ตอบแบบวัดเจตคติคิดเป็นร้อยละ 98.47, 96.59 และ 89.74 ตามลำดับ นำผลที่ ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ one-way ANOVA และ Scheffe’s post hoc test พบว่า นักศึกษาทั้ง 3 ชั้นปีมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ยาจากสมุนไพร โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 5 มีเจตคติดีกว่าชั้นปีที่ 1 (p<0.001) แต่เจตคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 5 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจากสมุนไพร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 5 มีเจตคติดีกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (p<0.001) แต่เจตคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 5 ไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ สำหรับด้านคุณภาพของยาจากสมุนไพร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 มีเจตคติที่ดีกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (p=0.039) ส่วนในด้านการเข้าถึงและการมีให้ใช้ได้ของยาจากสมุนไพร เจตคติของนักศึกษาทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงเจตคติที่ดีของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่จะมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรอย่างสมเหตุผลเมื่อสำเร็จเป็นเภสัชกรในอนาคต
abstract:
Pharmacists are healthcare providers who play an important role in herbal medicine consultation. The objective of this special project is to study the attitudes of pharmacy students of the Faculty of Pharmacy, Mahidol University. A self-administered attitude test toward herbal medicine including efficacy, safety, quality, and accessibility was developed and distributed to 297 students of the first, third, and fifth years. Response rates were 98.47, 96.59, and 89.74%, respectively. Data analyzed using one-way ANOVA and Scheffe’s post hoc test showed that all three classes had good attitudes toward herbal medicine, the third and fifth year students showed higher attitude than the first year students (p<0.001), but there was no significant difference between those two groups. In aspect of safety and efficacy of herbal medicine, the attitudes of the third and fifth year students were higher than the first year students (p<0.001) but no significant difference between the third and fifth year students was observed. The attitudes of the fifth year students on the quality of herbal medicine was higher than the first year students (p=0.039), whereas there was no significant difference among three classes students in aspect of the accessibility of herbal medicine. The results showed the favorable attitudes of pharmacy students toward herbal medicine, which would affect their roles as herbal medicine consultant on promoting the rational uses of herbal medicine after their graduation.
.