การพัฒนาตารับไมโครอิมัลชันของสารสกัดเหง้าไพล

โดย: นางสาวธนาภา สัจจาพิทักษ์,นางสาวพัณณิตา มงคลธนตระกูล    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฏฐินี อนันตโชค , วารี ลิมป์วิกรานต์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ไพล, นำ้ มันไพล, ไมโครอิมัลชัน, Zingiber cassumunar, Plai oil, Microemulsion
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับไมโครอิมัลชันของสารสกัดเหง้าไพล โดย วิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ คือ Compound D ในสารสกัดเหง้าไพลด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) โดยเทียบจากกราฟมาตรฐาน (Calibration curve) ของสาร Compound D ที่แยกได้ และหาอัตราส่วนของนำ้ มันไพล นำ้ และสารลดแรงตึง ผิวที่เกิดไมโครอิมัลชันเบสที่เหมาะสม โดยการประเมินจากการสร้าง Pseudoternary phase diagram หลังจากเตรียมไมโครอิมัลชันที่บรรจุสารสกัดไพล ประเมินคุณภาพของไมโครอิมัลชันที่ ได้โดยการวิเคราะห์หาปริมาณ Compound D ในตำรับ และการทดสอบความคงตัวของตำรับ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ชนิดของไมโครอิมัลชัน ค่าความเป็นกรด-ด่าง พฤติกรรมการไหลและ ค่าความหนืด และความคงตัวเชิงอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamic stability) การประเมินโดย pseudoternary phase diagram พบว่าชนิดและอัตราส่วนของสารลด แรงตึงผิวที่มีความเหมาะสมมากที่สุดที่ทำให้เกิดไมโครอิมัลชันเบสที่ประกอบด้วยนำ้ มันไพลร้อย ละ 10 คือ Tween®80:Transcutol®HP ในอัตราส่วน 2:1 และการวิเคราะห์ปริมาณของ Compound D ด้วย HPLC ในตำรับ 0.1% และ 1.0%w/v สารสกัดไพลในไมโครอิมัลชัน พบว่ามี ค่าเท่ากับ 0.0556±0.0037 และ 0.2909±0.0080 mg/mg สารสกัด ตามลำดับ ซึ่งไม่เพิ่มเป็น สัดส่วนโดยตรงกับปริมาณสารสกัดที่เพิ่มขึน้ แสดงว่าอัตราการละลายของ Compound D ในไม โครอิมัลชันเบสลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดในไมโครอิมัลชัน การประเมินชนิดของไมโครอิมัลชัน ค่าความเป็นกรด-ด่าง พฤติกรรมการไหลและค่าความ หนืด การศึกษา Thermodynamic stability ของตำรับที่ใช้ไมโครอิมัลชันเบสเป็น Tween®80:Transcutol®HP ในอัตราส่วน 2:1 และ 10% นำ้ มันไพล พบว่าไมโครอิมัลชันของสาร สกัดไพลเป็นชนิดนำ้ มันในนำ้ และมีความคงตัวดี ไม่เกิดการแยกชัน้ เมื่อทดสอบภายใต้สภาวะเร่ง
abstract:
This special project aims to develop a microemulsion formulation of Zingiber cassumunar rhizome extract. Compound D, an active compound of the extract was analyzed by the High Performance Liquid Chromatography (HPLC) by comparison with the calibration curve of pure compound D. The suitable ratio of oil, water and surfactants of a microemulsion-based were evaluated by using pseudoternary phase diagram. After preparation of microemulsions containing Z. cassumunar rhizome extract, the qualities of the microemulsions were evaluated by analyzing of compound D content and stability test, including physical characteristics, pH, rheology behavior and viscosity, and thermodynamic stability. The assessment of pseudoternary phase diagrams found that the appropriate surfactances which could generate an microemulsion containing 10% Z. cassumunar oil were Tween®80:Transcutol®HP in ratio 2:1. Compound D content in the microemulsion of 0.1 % and 1.0 %w/v Z. cassumunar extract analyzed by HPLC were 0.0556 ± 0.0037 and 0.2909 ± 0.0080 mg/mg extract, respectively. This result suggested that the solubility of compound D in the microemulsion base decrease when increasing the concentration of Z. cassumunar extract. The measurement of type of microemusion, pH, rheology behavior and viscosity and the study of thermodynamic stability found that 0.1 % and 1.0 %w/v of Z. cassumunar extract in microemulsion base containing Tween®80:Transcutol®HP in ratio 2:1 and 10% Z. cassumunar oil were oil in water microemulsion and stable under stress test conditions.
.