การเตรียมอนุภาคผลึกนาโนของยาไดไฮโดรอาร์เทมิซินิน

โดย: ปฐมพงษ์ วรสกุลธร, ภัทรพล หลักแหลม    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ไดไฮโดรอาร์เทมิซินิน, ระบบกระจายตัวในของแข็ง, การย่อยขนาดด้วยแรงดันสูง, ไมโครฟลูอิดิกส์, ขนาดอนุภาค, dihydroartemisinin, solid dispersion, high pressure homogenization, microfluidics, particle size
บทคัดย่อ:
ยาไดไฮโดรอาร์เทมิซินินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคหนึ่งที่เป็น ปัญหาในกลุ่มประเทศเขตร้อน ยานี้มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ต่ำ ในการตั้งตำรับยาจึงจำเป็นต้องหา วิธีเพิ่มการละลาย ในการวิจัยนี้ได้ทดลองเตรียมอนุภาคยาให้มีขนาดเล็กด้วยวิธีการเตรียมจาก ระบบกระจายตัวในของแข็งและวิธีการย่อยขนาดด้วยแรงดันสูงโดยใช้เครื่อง Avestin และ Microfluidics ตำรับที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวยา พอลิเมอร์และสารลดแรงตึงผิว พอลิเมอร์ที่ใช้ คือ โพลิไวนิลพัยโรลิโดน เค 30 สารลดแรงตึงผิวที่ใช้ คือ โซเดียมลอริลซัลเฟตหรือเจลูไซร์ ผลการศึกษา พบว่า ตำรับที่ประกอบด้วยตัวยา พอลิเมอร์และสารลดแรงตึงผิว มีขนาดอนุภาคเล็กกว่าตำรับที่ ประกอบด้วยตัวยาและพอลิเมอร์ และขนาดอนุภาคยาจะลดลงเมื่ออัตราส่วนยาต่อพอลิเมอร์ลดลง และปริมาณสารลดแรงตึงผิวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พบว่า วิธีการเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ยังมีผลต่อ การลดขนาดอนุภาคยา ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทั้งในด้านส่วนประกอบในสูตรตำรับ และวิธีการเตรียมมีผลต่อการลดขนาดอนุภาคยา
abstract:
Dihydroartemisinin is an effective drug for malaria treatment, a problematic disease in tropical countries. Because of its poor solubility, the approach to increase the solubility in drug formulation is required. In this study, the small particles of drugs were prepared by using solid dispersion and high pressure homogenization methods of Avestin and Microfluidics. The investigated formulations were prepared by varying the composition of drug, polymer (polyvinylpyrollidone K30) and surfactant (sodium lauryl sulfate or Gelucire®). The results showed that the formulations containing surfactants demonstrated smaller particles than those without surfactants. The particle size was decreased when the ratio of drug to polymer was decreased and/or when the amount of used surfactant was increased. Furthermore, a decrease in particle size was also influenced by selected methods and equipments. The study found that the decrease in particle size was influenced by ingredients in the formulations and preparation methods.
.