การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันกับปัญหาสุขภาพของนักศึกษาที่เข้ารับการรักษาในหน่วยพยาบาลคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดย: ณัฐวุฒิ รักแคว้น, ทรงวุฒิ เลาหสุวรรณรัตน์, ดวงใจ แหยมแสง    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ , พิสมัย กุลกาญจนาธร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ปัญหาสุขภาพ, วิถีการดำเนินชีวิต, สุขภาพของนักศึกษา, สุขภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, Health problems, Daily lifestyle, Health of students, Health of graduate students
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน กับปัญหาสุขภาพของนักศึกษาซึ่งจำแนกเป็นชั้นปี ทำการรวบรวมข้อมูลการเจ็บป่วยของนักศึกษา ที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยพยาบาลประจำคณะเภสัชศาสตร์ (ปีการศึกษา 2540-2548) ผล การศึกษาจากเวชระเบียนพบว่า นักศึกษาทุกระดับชั้นปีป่วยเป็นโรคติดเชื้อมากที่สุด รองลงมา เป็นโรคทางเดินอาหาร เมื่อทำการสำรวจแบบตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถาม ถามนักศึกษาทุก ระดับชั้นปีและบัณฑิตศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 762 ฉบับ ตอบกลับ 558 ฉบับ (คิดเป็นร้อยละ 73.2) ผลจากแบบสอบถามพบว่ากิจกรรมในเวลาว่างที่ นักศึกษาทำเป็นส่วนใหญ่คือ ดูหนังฟังเพลง (ร้อยละ 89.4) ในด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร นักศึกษาส่วนใหญ่รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ (ร้อยละ 62.2) พักอยู่ที่หอพัก (ร้อยละ 54.3) และใช้เวลาในการเดินทางมาเรียน 0-0.5 ชั่วโมง (ร้อยละ 42.7) พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญ ทางสถิติระหว่างปัญหาสุขภาพกับระดับการศึกษาดังนี้ โรคทางเดินอาหารกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โรคติดเชื้อกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 3 และระดับบัณฑิตศึกษา ในส่วนความสัมพันธ์ของวิถีการ ดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละชั้นปีกับปัญหาสุขภาพ พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะ โรคทางเดินอาหารโดยพบว่าสัมพันธ์กับการใช้เวลาว่างเล่นเกม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 การออกกำลังกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระยะเวลาในการเดินทางของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 และพฤติกรรมการเลื่อนเวลา รับประทานอาหารหากติดงานอื่นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การศึกษาสรุปได้ว่าวิถีการ ดำเนินชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพของนักศึกษาทุกระดับ (ยกเว้นนักศึกษาชั้น ปีที่ 2) และควรมีการพิจารณาดำเนินการหาทางแก้ไขเพื่อลดปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ภายในคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
abstract:
The main objective of this project is to study the relationship between daily lifestyle and health problems of students in each class. Health problem’s data was collected from faculty health unit (academic year 1997-2005). Medical chart review showed that the infectious disease (ID) was the most common disease, followed by gastrointestinal disease (GID). The Cross-sectional survey by sending questionnaires to all Pharmacy students, year 1-5 and graduate program (n=762), in the first semester, academic year 2006 were conducted. Result from 558 respondents (73.2%) showed that most students liked to watch movie and listen music during their spare time (89.4%), took meals three times a day (62.2%), stayed in the dormitory (54.3%), and spent half hour to get to school (42.7%). GID was significantly related to first-year students, ID related to first-and third-year, and graduate students. The relationship between daily lifestyle of students in each class and health problems was significantly between GID and playing VDO or computer games during spare time of the first year students, having exercise 1-2 times a week of the third year students, vegetarian favorable of the forth year students, time used in traveling to the Faculty of the fifth year students and postponing eating time due to business of the graduate students. In conclusion, it could be seen that the daily lifestyle related to the health problems of all class students (except the second year students). Hence, there should be a plan to reduce health problems in Pharmacy students of Mahidol University.
.