การศึกษาการปลดปล่อยเชิงเปรียบเทียบของยาเม็ดออกฤทธิ์นานคลอร์เฟนิรามีนมาลีเอทซึ่งเตรียมโดยวิธีตอกตรงและเทคนิคการทําแกรนูลเปียก

โดย: ณัฐกานต์ จูพัฒนกุล, ธีรพร อภิวันทน์ คุณากร    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: คลอร์เฟนิรามินมาลีเอท, ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส, Methocel K15M, chlorpheniramine maleate, Hydroxypropylmethylcellulose
บทคัดย่อ:
การศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของวิธีการและปริมาณ Hydroxypropylmethylcellulose (HPMC, Methocel? K15M) ที่มีผลต่ออัตราการปลดปล่อยคลอร์เฟนิรามีนมาลีเอท (CPM) ออกจากเม็ดยา ซึ่งเตรียมโดยวิธีตอกตรงและเทคนิคการทําแกรนูลเปียกที่แตกต่างกัน 2 วิธี โดยใช้เครื่องทดสอบการละลายแบบที่ 1(USP 26) วิธีการทําแกรนูลเปียกที่ใช้ก่อนทําให้แห้งผสมสารหล่อลื่นและตอกยาเม็ด มี 2 วิธี คือ (1) method A: แบบผสมเอทานอลในผงยา (2) method B:แบบผสมเอทานอลใน Methocel ไม่ว?าจะเตรียมยาเม็ดโดยวิธีใด พบว่าความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของ Methocel K15M มีผลหน่วงอัตราเร็วของการปลดปล่อยตัวยาอย่างมีนัยสําคัญ และสามารถจัดอันดับอัตราเร็วในการปลดปล่อยได้ดังนี้ 10% > 20% ? 30% เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ Methocel K15M ที่ความเข้มข้นเท่ากันแต่เตรียมโดยวิธีต่างกัน ที่ 10% Methocel พบว่าวิธีตอกโดยตรงให้ผลหน่วงอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาน้อยที่สุดและสามารถจัดอันดับอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาได้ดังนี้: วิธีตอกตรง > method A method B ที่ 20% Methocel พบว่าวิธีการต่างๆที่ใช้ไม่มีผลต่ออัตราการปลดปล่อยตัวยาอย่างมีนัยสําคัญ และที่ 30% Methocel วิธีทําแกรนูลเปียกแบบ method B ให้ผลหน่วงอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาน้อยที่สุดและสามารถจัดอันดับอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาได้ดังนี้: method B >วิธีตอกตรง method A
abstract:
The comparative effects of various methods and concentrations of hydroxypropymethylcellulose (Methocel? K15M) on the release of chlorpheniramine maleate (CPM) from hydrophilic swelling matrices prepared by direct compression method and two different wet granulation techniques, were studied using USP dissolution apparatus 1. For wet granulation techniques, two methods were utilized prior to drying , lubricating and tabletting as follows: (1) method A : ethanol was incorporated into well mixed powder of drug, Methocel? and filler, (2) method B : ethanol solution of Methocel? was incorporated into well mixed powder of drug and filler. For any methods used, it was found that the release rate ( Higuchi’s rate constant ) was significantly decreased by the increased concentration of Methocel? and could be ranked as follows:10% > 20% ? 30%. For 10% Methocel?, could be ranked as follows: direct compression > method B ? method A. For 20% Methocel?, the release rate of drug was found to be nonsignificantly influenced by the method of preparation. For 30% Methocel?, could be ranked as follows: method B > direct compression ? method A
.