ความไวของราก่อโรคผิวหนังที่แยกจากผู้ป่วย ต่อสารสกัดปรู๋ (Alangium salviifolium subsp. hexapetalum) : |
โดย: เขตแข ประเทพ,ฉวีวรรณ รัตนภิรมย์
ปีการศึกษา: 2545 กลุ่มที่: 34 อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ , สมภพ ประธานธุรารักษ์ ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: ปรู๋, Alangium salviifolium subsp. hexapetalum, ราโรคผิวหนัง, Alangium saviifolium subsp. hexapetalum, dermatomycotic pathogens |
บทคัดย่อ: Dermatophytes และ Candida albicans เป็นเชื้อราก่อโรคผิวหนังในมนุษย์โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน ถึงแม้ว่าจะมียาแผนปัจจุบันหลายชนิดสำหรับต้านเชื้อรา แต่ยังคงมีสายพันธุ์ของเชื้อที่ดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การพัฒนาค้นหายาต้านเชื้อราตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพดียังคงเป็นสิ่งจำเป็น สมุนไพรยังคงเป็นแหล่งสำคัญในการพัฒนายารักษาโรค โครงการพิเศษนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคผิวหนังของแก่นปรู๋ (Alangium saviifolium (L. f.) Wang. subsp. hexapetalum Wang.) โดยการสกัดด้วยน้ำและ 95% เอธานอลเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สารสกัดด้วยน้ำนำไป lyophillize ส่วนสกัดด้วยเอธานอลนำมาระเหยแห้งภายใต้สูญญากาศ นำสารสกัดทั้งสองชนิดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งราโดยใช้ dermatophytes (Epidermophyton floccosum, Microsporum spp., Trichophyton mentagrophytes, Trichophyton rubrum) และ Candida albicans อย่างละ 45 isolates โดยวิธี agar disc diffusion ใช้ ketoconazole เป็นยามาตรฐาน ฤทธิ์ของสารสกัดแสดงโดยค่าเฉลี่ยของเส้นผ่าศูนย์กลางของการยับยั้งการเจริญของเชื้อ พบว่าสารสกัดด้วยน้ำแสดงฤทธิ์ยับยั้งต่อ Epidermophyton floccosum ได้ดีที่สุด แต่ฤทธิ์ยับยั้ง dermatophytes ในภาพรวมอ่อนกว่ายามาตรฐาน ketoconazole ส่วนสารสกัดด้วยเอธานอลออกฤทธิ์ยับยั้ง dermatophytes ได้น้อยกว่าสารมาตรฐานและสารสกัดด้วยน้ำอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับฤทธิ์ยับยั้ง Candida albicans สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดด้วยเอธานอลแต่อ่อนกว่าสารมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ผลการทดลองแสดงว่าสารออกฤทธิ์ต้านราของแก่นปรู๋ละลายในน้ำได้ดีกว่าเอธานอล สารสกัดด้วยน้ำน่าจะพัฒนาเป็นยาฆ่าเชื้อราได้ต่อไป |
abstract: Dermatophytes and Candida sp. are the most frequent pathogens caused human skin diseases especially in tropical area. Although several antimycotic drugs are available at present, resistant strains have gradually emerged. Therefore, there is a distinct need for the discovery of new effective antifungal agents. Plants used in traditional medicine usually constitute an important source of new biologically active compounds. We investigated the antifungal activities of Prue (Alangium salviifolium (L. f.) Wang. subsp. hexapetalum Wang.) wood. The wood of the plant was macerated with water or 95% ethanol for 24 hours. Then, the aqueous filtrate was lyophilized and the ethanolic extract evaporated. Both extracts were tested for their antifungal activities against 45 isolates of each dermatophytes and Candida albicans, using agar disc diffusion method compared with a reference drug, Ketoconazole. The inhibitory zone diameters were considered as antifungal activities of extracts. The aqueous extract was the most active against Epidermophyton floccosum, however the average potency against all dermatophyte isolates was lower than Ketoconazole. The ethanolic extract showed some activities against dermatophytes, with significantly lower than Ketoconazole and the aqueous extract. The aqueous extract also demonstrated significantly higher activity against Candida albicans than the ethanolic extract, but lower than the reference drug. The result indicated that antifungal active compounds in Alangium salviifolium (L. f.) Wang. subsp. hexapetalum Wang. wood were hydrophilic. The aqueous extract should be further developed for antifungal drug. |
. |