ผลของ CuCl2 และ CuSO4 ต่อการเกิดเหง้าของเนื้อเยื่อดองดึง

โดย: กาญจนา สานุกูล, กิ่งกาญจน์ ทวีปรีชารัตน์    ปีการศึกษา: 2538    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรนิภา ชุมศรี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ดองดึงหัวขวาน (Gloriosa superba Linn.) เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Colchicaceae เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เหง้าหรือ เมล็ด มีอัลคาลอยด์ที่สำคัญคือ โคลชิซีน (colchicine) ใช้ในการบำบัดโรคเก๊าท์ การวิจัย นี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญของเหง้าดองดึงโดยใช้เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อ เติมสารโคบอลตัสคลอไรด์ (CoCl2) 0.30, 0.35, 0.40, 0.45, 0.50 มก/ลิตร และคอป- เปอร์ซัลเฟต (CuSO4) 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30 มก/ลิตร ในสูตรอาหารแข็ง PP (PP solid media) ที่เติม NAA และ BAP อย่างละ 2 มก/ลิตร นับจำนวนเหง้าเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ในอาหารที่เติมโคบอลตัสคลอไรด์ 0.45 มก/ลิตร ให้จำนวนเหง้าสูงสุด ส่วน ความเข้มข้นของ CuSO4 ในช่วงที่ทดลองให้ผลไม่แตกต่างกันแต่สารทั้งสองชนิดมีแนว โน้มให้จำนวนเหง้าลดลงเมื่อความเข้มข้นเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง การแยกเลี้ยงในภาชนะ ระหว่างขวดกับฟลาสให้ผลไม่แตกต่างกัน ส่วนสารสกัดจากเหง้านำไปทดสอบกับ Dragendorff"s spray พบอัลคาลอยด์ ตรวจสอบ TLC (Thin layer chromatography) พบสารสำคัญคือ โคลชิซีน การศึกษาดองดึง 6 ตัวอย่างคือ เหง้า, เมล็ดแก่, เมล็ดที่เริ่มงอกซึ่งได้จาก ธรรมชาติและเหง้า, รากเล็ก, รากแผ่จากเนื้อเยื่อดองดึงนำสารสกัดมาทดสอบกับน้ำยา ตกตะกอน อัลคาลอยด์ทุกตัวอย่างมีอัลคาลอยด์ ตรวจสอบ TLC พบ โคลชิซีน และ เบต้าลูมิโคลชิซีน (beta-lumicolchicine) ยกเว้นรากเล็กและรากแผ่ หาปริมาณสาร โคลชิซีน โดย HPLC (High performance liquid chromatography) พบว่ามีโคลชิซีน ปริมาณสูงสุดในเมล็ดแก่จากธรรมชาติ ร้อยละ 1.11 โดยน้ำหนักแห้ง แต่ทั้งนี้ตัวอย่าง ที่นำมาวิเคราะห์มีอายุและระยะเวลาที่เก็บไว้แตกต่างกัน จึงเสนอแนะว่าการเปรียบเทียบ ตัวอย่างที่นำมาศึกษาควรคำนึงถึงอายุ และระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างไว้ด้วย
abstract:
Gloriosa superba Linn. is a climbing lily which is classified in the Colchicaceae family. It can be glown better in the tropical region and bred by using corms or seeds. The major alkaliod founded in it is colchicine which is used to cure gouty arthritis. This research compared the growth of G.superba Linn. corms from tissue culture when 0.30, 0.35, 0.40, 0.45, 0.50 mg/L CoCl2 and 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30 mg/L CuSO4 were added in PP solid media consisted with 2 mg/L of NAA and BAP . The Comparision was carried out by counting numbers of corm for seven weeks . It was founded that the media with 0.45 mg/L of CoCl2 gave the most corms while the whole range of CuSO4 being studied made no difference. However, both CoCl2 and CuSO4 reveal decrease number of corm when the concentration was increase to a certain level. The bottle or flask containers also gave the same result among all experiments . The corm extracted had an evidence of alkaloid after treated with Dragendorff ’s spray. That alkaloid was confirmed to be colchicine with TLC . Six samples from G. superba Linn. ; corms, mature seeds, germinated seeds from natural and corms, normal roots, enlarge roots from tissue culture were studied. Their extracted were tested with alkaloids precipitated reagent. The results indicated that all samples, except normal roots and enlarge roots, consisted of alkaloids. TLC data shown that the alkaloids were colchicine and beta-lumicolchicine. Quantitative analysis using HPLC was shown the natural mature seeds contain the highest amount of colchicine (1.11 % dry weight). The ages of samples and being kept before use should be considered for the variation of colchicine.
.