การรวบรวมข้อมูลสารสาคัญจากพืชสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

โดย: นางสาวนิจวิภา แสงนิล, นางสาววิสาขา จินตวรรณ    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , วีนา นุกูลการ , อรัญญา ศรีบุศราคัม , พนิดา ใหญ่ธรรมสาร    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: การอักเสบ, สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิ, สมุนไพรต้านการอักเสบ, Inflammation, Secondary metabolites, Anti-inflammatory herbs
บทคัดย่อ:
การอักเสบเป็นกระบวนการตอบสนองที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นที่ทาให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตราย ซึ่งมีประโยชน์ในการทาให้มีการปรับสมดุลของร่างกายเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ขณะเดียวกันอาจทาให้เกิดการทาลายเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ยาแก้อักเสบที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาต้านอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาดี แต่อาจทาให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการแข็งตัวของหลอดเลือดและการเกิดลิ่มเลือด เป็นต้น ดังนั้น สมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เพื่อนามาใช้แก้อักเสบ โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลข้อมูลการศึกษาสารสาคัญจากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่มีการศึกษาในปี ค.ศ. 2006-2016 จากแหล่งข้อมูลทางวิชาการโดยใช้ฐานข้อมูล คือ Pubmed, Sciencedirect และ SciFinder ผลการรวบรวมข้อมูลสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิจากพืชสมุนไพร 4 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ เทอร์ปีนอยด์ ซาโปนิน และอินโดลแอลคาลอยด์ พบว่ามีการศึกษาฤทธิ์ของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มากที่สุดและมีรายงานกลไกการออกฤทธิ์ว่าสามารถยับยั้งการหลั่งไซโตไคน์และพรอสตาแกลนดินซึ่งมีกลไกคล้ายกับยากลุ่ม NSAIDs รวมทั้งพบว่า มีความเป็นพิษน้อย ข้อมูลที่ได้สนับสนุนการนาสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิจากพืชมาใช้พัฒนาเป็นยาต้านอักเสบเพื่อใช้ทางคลินิกได้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นพิษและผลข้างเคียงในการใช้ระยะยาวต่อไป
abstract:
Inflammation is a complex response of living vascularized tissue or organ to harmful stimuli, such as pathogens, damaged cell, or irritants. Inflammation is essential for life and prevention of function but also cause significant tissue damage and loss of function. Although, therapies using non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) have a good efficacy for inflammatory treatment, various side effects have been reported i.e. gastrointestinal bleeding, renal failure and increase risk of atherothrombosis. Therefore, the use of herbal medicines as an alternative treatment is considered. The aim of this special project is to gather and analyse the information of phytochemical compounds from anti-inflammatory herbs during 2006 to 2016 from the reliable sources: Pubmeds, Sciencedirect and SciFinder, etc. The review of four groups of secondary metabolites from herbal plants: flavonoids, terpenoids, saponins and indole alkaloids, showed that flavonoids is the most interesting. It has been reported that flavonoids could inhibit secretion of cytokines and prostaglandins similar to NSAIDs. In addition, slightly toxic of flavonoids was found. The results supported that secondary metabolites from herbs, especially flavonoids, have a potential to use as an alternative medicines for inflammatory treatment. However, further studies focusing on toxicity and long-term side effects should be evaluated.
.