ผลของสารช่วยต่อคุณสมบัติทางกายภาพของยาเม็ดชนิดแตกตัวเร็วในช่องปาก

โดย: น.ส.นิษฐกาญจน์ เทศวงศ์, น.ส.มุทิตา ชิตเมธา    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ยาเม็ดแตกตัวเร็วในช่องปาก, สารช่วย, ฟรีซดราย, orodispersible tablet, excipient, Freeze dry
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารช่วยต่อคุณสมบัติทางกายภาพของ ยาเม็ดชนิดแตกตัวเร็วในช่องปาก ที่ประกอบด้วย แมนนิทอล ไกลซีนหรือเจลาติน เป็นสารช่วยใน ตำรับ ในการทดลองเตรียมสารละลายที่ประกอบด้วยสารช่วยในอัตราส่วนต่างๆกัน เทสารละลาย ลงในแม่พิมพ์และทำให้แห้งด้วยวิธีฟรีซดราย หรือไลโอฟิไลเซชั่น นำยาเม็ดที่เตรียมได้มาทดสอบ คุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภายนอก น้ำหนัก ความแข็ง ปริมาณความชื้น และเวลาใน การละลาย ผลการศึกษาพบว่า ยาเม็ดที่เตรียมได้ทุกตำรับมีน้ำหนักและปริมาณความชื้นใกล้เคียง กัน และสามารถละลายได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 นาที ความแข็งของยาเม็ดจะเพิ่มขึ้นเมื่อ อัตราส่วนของแมนนิทอลต่อไกลซีนเพิ่มขึ้น และการเติมเจลาตินในตำรับ ทำให้ยาเม็ดมีความแข็ง เพิ่มขึ้นและใช้เวลาในการละลายนานขึ้น เนื่องจากเจลาตินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของ ยาเม็ด โดยยาเม็ดที่ประกอบด้วยแมนนิทอล ไกลซีนและเจลาติน ในอัตราส่วน 48:30:20 มีความ แข็งมากที่สุด นอกจากนี้ ได้ทดลองเพิ่มเติมโดยผสมยาริสเพอริโดนลงไปในตำรับที่มีความแข็งที่ เหมาะสม พบว่า การเติมยาทำให้ยาเม็ดมีความแข็งลดลง ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สารช่วยใน ตำรับมีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความแข็งและเวลาในการละลาย ของยาเม็ดชนิดแตก ตัวเร็วที่เตรียมด้วยวิธีไลโอฟิไลเซชั่น
abstract:
This special project aimed to study the effect of excipients on physical properties of orodispersible tablets consisting of mannitol, glycine or glatin as excipients in this experiment, the solutions of excipients in different ratios were prepared, poured to the mould and dried by freeze dryer or lyophilizer to obtain orodispersible tablets. Then, physical properties of the tablets including appearance, weight, hardness, moisture content and dissolution time were determined. The result indicated that the weight and the moisture content of all formulations were comparable and their dissolution times were less than 1 minute. The tablet hardness increased as mannitol to glycine ratio increased. Addition of gelatin to the formulations increased the tablet hardness and prolonged the dissolution time because gelatin enhanced binding effectiveness. The formulation composing of mannitol, glycine and gelatin at 48:30:20 weight ratio had the maximum hardness. Furthermore, the drug risperidone was added to the formulation providing adequate tablet hardness. The result showed that addition of risperidone decreased the hardness of orodispersible tablets. The overall results demonstrated that the excipients had an effect on physical properties including hardness and dissolution time of the orodispersible tablets prepared by lyophilization.
.