ความถูกต้องของการคำนวณขนาดยาในเด็กจากขนาดยาในผู้ใหญ่ |
โดย: ภัทรินทร์ พิทักษ์โชติวรรณ, วีรยา กุลละวณิชย์ ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 33 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: เภสัชจลนศาสตร์, การคำนวณขนาดยาในเด็กจากขนาดยาในผู้ใหญ่, ยาที่ต้องติดตามขนาดยาในเลือด, Pharmacokinetic parameter, Pediatric dose estimation from adult dose, Therapeutic drug monitoring |
บทคัดย่อ: ขนาดยาที่ให้ในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่มีการใช้ยา ในกลุ่มที่ต้องทำการติดตามขนาดยาในเลือดซึ่งต้องมีความระมัดระวังในการกำหนดขนาดยาเป็น อย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่จำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยเด็ก แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึง ขนาดยาที่เหมาะสมเนื่องด้วยข้อจำกัดทางจริยธรรมทำให้ต้องอาศัยการคาดเดาโดยใช้สูตร คำนวณจากขนาดยาในผู้ใหญ่ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความถูกต้องของสูตรที่ใช้ในการคำนวณโดยทำการศึกษาในกลุ่มยาที่ต้องทำการ ติดตามขนาดยาในเลือด ลักษณะงานวิจัยเป็นแบบรวบรวมข้อมูล การศึกษาประกอบด้วย การ รวบรวมขนาดยา การคำนวณขนาดยาในผู้ป่วยเด็กจากขนาดยาผู้ใหญ่โดยใช้สูตรคำนวณ 6 สูตร การประเมินความคลาดเคลื่อนของขนาดยาโดยความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้กำหนดให้มีค่าน้อย กว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับขนาดที่แนะนำในตำรายา จากนั้นนำกลุ่มยาดังกล่าวมา ประเมินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสูตรคำนวณกับตัวแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ซึ่งกำหนดไว้ จำนวน 5 ตัวแปร จากผลการศึกษามีตัวยาที่รวบรวมได้ทั้งหมด 26 ชนิด ภายหลังการรวบรวม ขนาดยาตามข้อบ่งใช้หรือวิธีการให้ยาที่แตกต่างกันแล้วมีจำนวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 78 ตัวอย่าง และพบว่าสูตร Salisbury rule มีขนาดยาที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับขนาดยามาตรฐานมากที่สุด และตัวแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ที่ทำการศึกษาไม่มี ความสัมพันธ์กับตัวยาที่เหมาะสมแก่การคำนวณในแต่ละสูตร (p>0.05) ผลการวิจัยนี้เป็นการศึกษาขั้นต้นเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดขนาดยาที่ยังไม่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนในเด็ก อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอีกทั้งลดอาการข้างเคียงในการ เกิดพิษเนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดต่อไป |
abstract: Doses of each specific population are different, especially in pediatric population whose using therapeutic drug monitoring are carefully concerned. In fact, various drugs are employed in children, but they have not been studied in children due to the limitation of ethical issue. Although calculating pediatric dose from adult dose by using several converting equations is currently available, calculating dose can cause toxic or underdose in children. This research was conducted to evaluate accuracy of calculating equations of pediatric dose from adult dose. Therapeutic drug monitoring were studied. This research was document research. The methods were collection of regulatory pediatric doses, calculation of pediatric dose from adult dose by using 6 equations, evaluation of accuracy of the equations. The calculated pediatric doses were then, compared to the regulatory doses and acceptable error value was less than or equal to 10%. Then, evaluation of the relation between calculating equations and 5 pharmacokinetic parameters were performed. The study of 26 drugs, 78 dosage regimens demonstrated that calculated doses of the Salisbury rule yielded the highest numbers of acceptable error value doses when compared with the regulatory doses. Moreover, the relation between 5 pharmacokinetic parameters and appropriate calculated doses were not found (p>0.05). In conclusion, this research was the preliminary study to indicate the possible non-regulatory pediatric doses for improving therapeutic efficiency and reducing side effects resulted from using overdose. |
. |