การพัฒนายาเม็ดแก้ปวดและอักเสบของโคคลาน

โดย: กนกพร ยิ่งธนพิบูลย์, วรรณษิกา ยอดกมล    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต , สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , นพมาศ สุนทรเจริญนนท์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: โคคลาน, ยาเม็ดแก้ปวดและอักเสบ, วิธีตอกตรง, วิธีแกรนูลเปียก, Mallotus repandus, Analgesic and antiinflammatory tablets, Direct compression,Wet granulation
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตํารับยาเม็ดจากสารสกัดโคคลานโดยวิธีแกรนูลเปียกและโดยวิธีตอกตรงเปรียบเทียบกัน สารสกัดจากเถาโคคลานมีสารสําคัญคือ berginin ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลของกระเพาะอาหาร ก่อนการพัฒนาตํารับได้ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของผงสารสกัดโคคลาน ได้แก่ tapped density, bulk density, และ % compressibility ตํารับยาที่พัฒนาได้คือ โดยวิธีตอกตรง 7 ตํารับ และโดยวิธี แกรนูลเปียก 2 ตํารับ นําไปประเมินคุณสมบัติทางกายภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ในเภสัชตํารับ USP 24 ได้แก่ น้ําหนักยาเม็ด การแตกตัว และวิธีที่ไม่ได้กําหนด ได้แก่ความแข็ง ความหนา และความกร่อน พบว่า ยาเม็ดที่เตรียมโดยวิธีตอกตรงมีการแตกตัวเร็วกว่าวิธีแกรนูลเปียก ทําการประเมินคุณสมบัติทางเคมีของยาเม็ดที่เตรียมได้ ได้แก่ ปริมาณสารสําคัญ โดยวิธีTLC และ HPLC ยาเม็ดที่เตรียมโดยวิธีตอกตรงและผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดประกอบด้วย alcoholic extract 330 มก., Microcellac 230 มก., Explotab 70 มก., Aerosil 3 มก., และmagnesium stearate 3 มก. และยาเม็ดที่เตรียมโดยวิธีแกรนูลเปียกและผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่กําหนดประกอบด้วย alcoholic extract 330 มก., lactose 55 มก., sodium bicarbonate 50มก., Explotab 20 มก., Eudragit E100 37.5 มก., magnesium stearate 2.5 มก., และpurified talcum 5 มก. นอกจากนี้ พบว่ายาเม็ดมีความไวต่อการดูดความชื้น จึงเคลือบเม็ดยา ด้วยฟิล์มเพื่อเพิ่มความคงตัวของยาเม็ด
abstract:
The objective of this study was to develop tablets from Mallotus repandus alcoholic extract by means of direct compression and wet granulation methods for comparison purpose. Alcoholic extracts from stem of Mallotus repandus possessed berginin as active constituent which had analgesic, antiinflammatory, and protective effects against gastric ulceration. Preformulation was performed by evaluation of physical properties of extract powder such as tapped and bulk densities and % compressibility. In this study 7 tablet formulations were prepared by direct compression method and 2 tablet formulations were prepared by wet granulation method. Evaluations of physical properties of all prepared tablets were performed in conformation to USP 24 standard, namely, weight variation and disintegration time, and for those not given in USP 24, that is, hardness, thickness, and friability. It was found that tablets prepared by direct compression method exhibited faster disintegration time than those prepared by wet granulation method. The chemical assessment of tablets in terms of active constituent content was also carried out by TLC and HPLC methods. Tablet formulation prepared by direct compression that conformed to the standard consisted of alcoholic extract 330 mg, Microcellac? 230 mg, Explotab? 70 mg, Aerosil? 3 mg, and magnesium stearate 3 mg, and that prepared by wet granulation consisted of alcoholic extract 330 mg, lactose 55 mg, sodium bicarbonate 50 mg, Explotab? 20 mg, Eudragit? E100 37.5 mg, magnesium stearate 2.5 mg, and purified talcum 5 mg. Besides, the prepared tablets were highly hygroscopic so that they were film-coated to improve stability.
.