แชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง

โดย: วสุ วิฑูรย์สฤษฏ์ศิลป์,ศุทธิชัย พจนานุภาพ    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: เย็นจิต พรหมบุญ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: แชมพูสมุนไพร, ปริมาณฟอง, ความหนืด, Herbal shampoo, Foam volume, Viscosity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาทดลองการตั้งตำรับและผลิตแชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง จากสมุนไพร 3 ชนิด คือ เปลือกมังคุด เมล็ดสะเดา ตะไคร้หอม โดยการตั้งตำรับแชมพูพื้นจากสารลดแรงตึงผิวประเภทต่างๆรวมทั้งปรับเปลี่ยนสัดส่วนสารผสมในแต่ละตำรับ และตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแชมพูพื้น ได้แก่ ความหนืดและปริมาณฟอง คัดเลือกตำรับแชมพูพื้นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อนำมาพัฒนาเป็นแชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง และคัดเลือกตำรับแชมพูสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ ลักษณะภายนอก และความคงตัวที่เหมาะสมที่สุดเพื่อนำไปทดสอบในอาสาสมัครซึ่งเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงเกี่ยวกับความพึงพอใจด้านลักษณะภายนอก สี กลิ่น ความหนืด และความพึงพอใจภายหลังการทดลองใช้ ปริมาณฟอง ความยากง่ายในการล้างออก ความนุ่มของขน ความมันวาวของขน กลิ่นของสัตว์เลี้ยงภายหลังใช้แชมพู โดยให้คะแนนตั้งแต่ 0-4 คะแนน และปริมาณเห็บหมัดภายหลังการใช้โดยให้คะแนนตั้งแต่ 0-3 คะแนน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์ของเปลือกมังคุดจะไม่สามารถเข้ากันได้กับแชมพูพื้นที่มี anionic surfactant สารสกัดแอลกอฮอล์ของเมล็ดสะเดาจะเข้ากันได้ดีกับแชมพูพื้นที่มี anionic และ amphoteric surfactant ส่วนสารสกัดตะไคร้หอมจะเข้ากันได้ดีกับแชมพูพื้นที่มี nonionic surfactant โดยผลการทดสอบด้านความพึงพอใจของเจ้าของสัตว์เลี้ยงพบว่า แชมพูเปลือกมังคุดมีคะแนนเฉลี่ยด้านกลิ่นมากที่สุดเท่ากับ 2.94 แชมพูตะไคร้หอมมีคะแนนเฉลี่ยด้านความหนืด และสีมากที่สุดเท่ากับ 3.05 และ 2.83 ส่วนผลในการฆ่าเห็บหมัดนั้นมีคะแนนเฉลี่ยของแชมพูเปลือกมังคุด เมล็ดสะเดาและตะไคร้หอมเท่ากับ 1.39 1.32 และ 1.30 ตามลำดับ
abstract:
The goal of this project is to formulate herbal shampoo for pets by varying the contents of ingredients especially surfactants. The physical properties of shampoo bases were evaluated by measuring the viscosity and foam volume. The appropriate formulas were selected and mixed with herbal extracts (mangosteen rind extract, neem seed extract and lemongrass extract), and determine for physical and biological evaluations. The physical properties such as color, smell, viscosity, foam volume, comfortably washing, softness and shine feels on pet’s fur were the criteria for evaluation (scores between 0-4). The decrease of tick and flea have given by pet’s owner (scores between 0-3).The results showed that the dried mangosteen’s rind alcohol extract was incompatible with anionic surfactant, the dried neem seed alcohol extract was compatible with the combine formula between anionic and amphoteric surfactant, the lemongrass extract was compatible with nonionic surfactant. The satisfaction of pet’s owner showed that mangosteen rind shampoo has the best mean score in smell (2.94), lemongrass shampoo has the best score in viscosity and color (3.05,2.83). The lowering tick and flea scores of mangosteen, neem and lemongrass were 1.39,1.32 and 1.30 respectively.
.