ผลของคาเฟอิท แอซิด และกอริค แอซิค ต่อการเกิดตัวอ่อนของดองดึง

โดย: กรวีร์ วงศ์สาคร,ทิวาพร เจริญศิริ    ปีการศึกษา: 2538    กลุ่มที่: 33

อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรนิภา ชุมศรี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ดองดึงหัวขวาน (Gloriosa superba L.) เป็นพืชในวงศ์ Colchicaceae มีอัลคาลอยด์ที่ สำคัญคือ โคลชิซีน (colchicine) ใช้บำบัดโรคเก๊าท์ (gout) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสาร อชีวภาพกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโตคือ คาฟเฟอิก แอซิด (caffeic acid) และกอลลิก แอซิด (gallic acid) ต่อการเกิดต้นอ่อนของดองดึงจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้ทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารแข็งสูตร PP (PP solid media) ที่มีฮอร์โมนพืช NAA และ BAP ความเข้มข้นอย่างละ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ pH 5.8 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เติมคาฟเฟอิก แอซิด ความเข้มข้นดังนี้ (1) 0.05 (2) 0.20 (3) 0.15 (4) 0.20 (5) 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร กลุ่มที่สอง เติมกอลลิก แอซิด ความเข้มข้นดังนี้ (1) 0.15 (2) 0.20 (3) 0.25 (4) 0.30 (5) 0.35 มิลลิกรัมต่อลิตร เปรียบเทียบผลการทดลองในฟลาสและขวดแก้ว ใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน 7 สัปดาห์ วัดปริมาณการเกิดต้นอ่อนของดองดึงโดยชั่งน้ำหนักสดของเนื้อเยื่อที่ได้ทั้งหมด ผลการทดลองพบว่าคาฟเฟอิก แอซิด ความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตร และกอลลิก แอซิด ความเข้มข้น 0.20 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ปริมาณการเกิดต้นอ่อนมากที่สุด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในฟลาสให้ปริมาณการเกิดต้นอ่อนมากกว่าขวดแก้ว ตรวจสอบหาสารสำคัญด้วยวิธี TLC จากสารสกัดเนื้อเยื่อหัว พบโคลชิซีนและเบต้าลูมิโคลชิซีน (เบต้า-lumicolchicine) ผลการวิเคราะห์สารสำคัญในดองดึงที่ได้จากแหล่งต่างกัน คือ เนื้อเยื่อหัว เนื้อเยื่อรากเล็ก เนื้อเยื่อรากแผ่ หัวจากธรรมชาติ เมล็ดแก่ และเมล็ดเริ่มงอก โดยใช้เทคนิคต่างๆดังนี้ วิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยวิธี HPLC พบว่า หัวจากธรรมชาติมีปริมาณเบต้าลูมิโคลชิซีนสูงสุด (0.24 เปอร์เซนต์โดยน้ำหนักแห้ง) ตรวจสอบหาสารสำคัญด้วยวิธี TLC พบสารโคลชิซีนและเบต้าลูมิโคลชิซีนใน 4 ตัวอย่าง แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อรากเล็กและเนื้อเยื่อรากแผ่ ตรวจสอบอัลคาลอยด์ด้วยน้ำยาตกตะกอนและการเกิดสีต่อ Dragendorff "s spray reagent พบว่าทุกตัวมีอัลคาลอยด์ การทดลองนี้เป็นการศึกษาต่อเนื่องเพื่อหาสารอชีวภาพที่ให้ปริมาณการเกิดต้นอ่อนของดองดึงสูงสุดโดยอาศัยเทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อสามารถผลิตหัวต้นพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากโดยธรรมชาติดองดึงสามารถเจริญเติบโตได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น จึงขอเสนอแนะว่าควรมีการทดลองต่อไปอีกเพื่อหาสภาวะที่ดีที่สุดในการเร่งให้เกิดต้นอ่อนของดองดึง
abstract:
Gloriosa superba L. is a member of the family Colchicaceae. The main alkaloid is colchicine which have been used to cure acute gout. This work has been to study the effect of caffeic acid and gallic acid, which were abiotic elicitors of growth inhibitors group, to the induction of Gloriosa superba L. in vitro plantlets. The plant was in vitro cultivated on PP solid media supplemented with NAA and BAP at concentration each of 2.0 mg/l, at pH 5.8. First group we were studied the effect of caffeic acid at five concentrations, (1) 0.05 (2) 0.10 (3) 0.15 (4) 0.20 (5) 0.25 mg/l. Second group we were studied the effect of gallic acid at five concentrations, (1) 0.15 (2) 0.20 (3) 0.25 (4) 0.30 (5) 0.35 mg/l. The comparison study was done by maintain the cultures in 2 types of container, such as flask and bottle. The duration of maintainance of cultures was 7 weeks. The growth of Gloriosa plantlet was measured by weighting of total fresh weight. The result showed that 0.10 mg/l of caffeic acid and 0.20 mg/l of gallic acid stimulated the maximum of differentiated plantlets . The growth of Gloriosa cultures in flasks were better than in bottles. It was found colchicine and beta- lumicolchicine in extracts of corm cultures by TLC. Assays of the alkaloids of Gloriosa from difference sources, such as corm cultures, small root cultures, enlarge root cultures, natural corms, mature seeds and germinated seeds. Quantitative column chromatography showed that natural corms produced the highest amount of beta- lumicolchicine (0.24% on dry weigh). Colchicine and *- lumicolchicine were not present in small root cultures and enlarge root cultures by TLC. All samples could be detected alkaloids by using precipitating reagent and Dragendorff "s spray reagent. This project was the continuous study to find suitable abiotic elicitors which induced to produce a large amount of Gloriosa superba L. in vitro plantlets, to be used for propagating tubers all year round, because this plant normally propagate only in rainy season. We suggest that the study should be continue on to find the best condition for the induction of Gloriosa superba L. in vitro plantlets.
.