การตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรป่าชายเลนและป่าชายหาด |
โดย: ณัฐนันท์ จิตรภิรมย์, สุชีรา เรศสุข ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 32 อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: สมุนไพรป่าชายเลนและป่าชายหาด, ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ, ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ , medicinal plants, mangrove forest, beach forest, antimicrobial activity, cytotoxicity |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรป่าชายเลน และป่าชายหาดโดยทำการศึกษา 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราโดยวิธี disk diffusion เชื้อที่ใช้ทดสอบ คือ Escherichia coli ATCC 25922, Bacillus cereus ATCC 14579, Salmonella typhimurium ATCC 11331, Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Candida albicans ATCC 10231 พบว่า สารสกัด 80% แอลกอฮอล์จากตัวอย่างทั้งหมด 30 ตัวอย่าง สารสกัดส่วนใหญ่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (S. aureus, B. cereus) และมีเพียง สารสกัดจากพังกาหัวสุม (ส่วนผล) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. albicans จากนั้นทำการคัดเลือก 3 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ดีที่สุดและไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ มาทำการทดลองหาค่า MIC ได้แก่ พังกาหัวสุม (ส่วนผล) เบญจมาศน้ำเค็ม (ส่วนใบ) และฝาดแดง (ส่วนกิ่ง) พบว่าค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureus ของฝาดแดง (ส่วนกิ่ง) พังกาหัวสุม (ส่วนผล) มีค่า 0.312 mg/ml และ เบญจมาศน้ำเค็ม (ส่วนใบ) มีค่า 0.625 mg/ml ค่า MIC ต่อเชื้อ B. cereus ของฝาดแดง (ส่วนกิ่ง) และพังกาหัวสุม (ส่วนผล) มีค่า 0.625 mg/ml และค่า MIC ต่อเชื้อ E.coli ของ เบญจมาศน้ำเค็ม(ส่วนใบ) มีค่า 0.312 mg/ml ค่า MIC ต่อเชื้อ C. albicans ของ พังกาหัวสุม (ส่วนผล) มีค่า 0.312 mg/ml ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยวิธี Brine shrimps lethality test (BST) พบว่า ขมิ้นพระ (ส่วนราก) เสม็ดขาว (ส่วนใบ) และขลู่ (ส่วนใบ) มีความเป็นพิษต่อเซลล์ในความเข้มข้น 31.71 µg/ml, 249.42 µg/ml และ 559.06 µg/ml ตามลำดับ ส่วนที่ 3 เป็นการศึกษาสารประกอบทางเคมีของสารสกัดของพืช 10 อันดับแรกที่มีฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพ ตามวิธี Professor Farnswort’s Phytochemical screening และวิธี Thin Layer Chromatography พบว่าสารประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ที่พบคือ สารกลุ่ม tannins และ flavonoids |
abstract: This special project studied about biological activities (antimicrobial activity, cytotoxicity), phytochemical screening and Thin Layer Chromatographic fingerprint of 30 medicinal plants from mangrove and beach forests. Antimicrobial activity was done by disk diffusion method against Escherichia coli ATCC 25922, Bacillus cereus ATCC 14579, Salmonella typhimurium ATCC 11331, Staphylococcus aureus ATCC 25923 and Candida albicans ATCC 10231. The result showed that majority of the 80% alcoholic extracts inhibited S. aureus, and B. cereus. Only Bruguiera gymnorrhiza (fruits) inhibited C. albicans. The MIC against S. aureus of Lumnitzera littorea (branches) and Bruguiera gymnorrhiza (fruits) was 0.312 mg/ml, Wedelia biflora (leaves) was 0.625 mg/ml. The MIC against B. cereus of Lumnitzera littorea (branches) and Bruguiera gymnorrhiza (fruits) was 0.625 mg/ml. The MIC against E. coli of Wedelia biflora (leaves) was 0.312 mg/ml. The MIC against C. albicans of Bruguiera gymnorrhiza (fruits) was 0.312 mg/ml. The cytotoxicity was done by Brine Shrimps Lethality test (BST) showing that three plants with cytotoxic effects in concentration of 31.71 µg/ml, 249.42 µg/ml and 559.06 µg/ml were Arcangelisia flava Merr. (roots), Melaleuca cajuputi. (leaves), and Pluchea indica. (leaves). Phytochemical screening of the active plants was conducted by color test and TLC. The result revealed that the most chemical substances found in plants were tannins and flavonoids. |
. |