การศึกษาเบื้องต้นของความเหมาะสมและปัญหาของการวัดคุณภาพชีวิตด้วยวิธีวัดอรรถประโยชน์ในคนไทย

โดย: วุฒิไกร ชินซ่งจู,สุภรักษ์ อมรนพรัตนกุล    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , วิชิต เปานิล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: คุณภาพชีวิต,อรรถประโยชน์,Visual Analog Scale,Sta, Quality of life,Utility,Visual Analog Scale,Standard Gamble,Time Trade Off
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสม ตลอดจนปัญหาในการวัดคุณภาพชีวิตด้วยอรรถประโยชน์ (utility) ในคนไทย ด้วยวิธี Visual Analog Scale (VAS) วิธี Standard Gamble (SG) และวิธี Time Trade Off (TTO) โดยทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธี Purposive Sampling เพื่อทำการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่เตรียมไว้ (Semi-structural questionaire) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 36 คน พบว่าเทคนิค VAS เข้าใจง่ายที่สุด รองลงมาคือเทคนิค SG และเทคนิค TTO ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีปัญหาจากการวัดด้วยวิธี VAS เช่น ในผู้ให้ข้อมูลที่การมองเห็นไม่ดี หรือมีความรู้ต่ำทำให้ไม่กล้าทำเครื่องหมายลงบนเสกลด้วยตัวเอง สำหรับปัญหาที่พบด้วยวิธีวัดแบบ SG คือผู้ให้ข้อมูลต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา และค่าใช้จ่าย และพบว่าผู้ให้ข้อมูล 16 ราย (44%) ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยวิธีการวัดแบบนี้เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ระบุว่าโรคหรืออาการที่เป็นไม่รุนแรงจึงไม่จำเป็นต้องเสี่ยงใดๆ หรือไม่สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ที่สมมติให้ได้เนื่องจากขัดแย้งกับความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษาที่เคยได้รับมาก่อน สำหรับปัญหาจากการวัดด้วยวิธี TTO พบว่าไม่สามารถวัดได้ในผู้ให้ข้อมูลจำนวน 13 ราย (36%) เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลไม่ยอมแลกระหว่างระยะเวลาของการมีชีวิตและคุณภาพชีวิตด้วยเหตุผลส่วนตัวต่าง ๆ จากการศึกษายังพบว่าค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากการวัดด้วยเทคนิค TTO มีค่าใกล้เคียงกับเทคนิค SG ซึ่งค่าที่ได้จากทั้ง 2 วิธีนี้มีค่ามากกว่าค่าที่ได้จากเทคนิค VAS โดยค่าเฉลี่ยของค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากการวัดด้วยวิธี VAS,TTO,SG มีค่าเท่ากับ 0.74,0.83,0.88 ตามลำดับ
abstract:
This special project was a qualitative study aimed at exploring the appropriateness and problems associated with measuring utility among thai population with Visual Analog Scale ทethod (VAS), Standard Gamble method (SG) and Time Trade Off method (TTO).The respondents were selected by purposive sampling method and were interview by semi-structural questionaire.Results from qualitative analysis of 36 respondents revealed that the most understanding method was VAS followed by SG and TTO method, respectively.Problems with VAS method were found among those who had impaired visual,and those with low education level who felt uncomfortable to mark on the scale. The problems of using SG method was that the respondents need more information (i.e. information on treatment and expense) in order to make their decisions.For 16 participants (44%) utility could not be measured with SG method due to several reasons such as their diseases or symptoms were not severe then they did not want to take any risk, and the given scenario was unrealistic or different from their previous knowledge about disease and treatment.For problems concerning TTO method,it was found that 13 participants (36%) were not willing to trade the length of their lives with the quality of their lives due to several personal reasons.Moreover,this study also found that the utility scores were varied among these method.The mean utility score of TTO was slightly higher than SG while those measured by the VAS method yielded the lowest score.The mean utility score of VAS,TTO and SG method was 0.74,0.83 and 0.88 respectively.
.