ผลของพลาสติไซเซอร์และผงของแข็งภายในเคลือบฟิล์มที่มีต่อคุณสมบัติและความคงตัวทางกายภาพของยาเม็ดเคลือบฟิล์ม

โดย: วรโชติ พิลา, วันดี เสริมหิรัญญ์สกุล    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ยาเม็ดเคลือบฟิล์ม, การยึดเกาะติดบนผิว, hydroxypropylmethylcellulose, การเคลือบฟิล์มโดยใช้น้ำ, Film-coated tablets, Adhesion, hydroxypropyl methylcellulose, aqueous film coating
บทคัดย่อ:
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผลของพลาสติไซเซอร์ 2 ชนิด คือ propylene glycol (PG) และ polyethylene glycol (PEG4000) ความเข้มข้น 15% ของฟิล์ม และผงของแข็งคือ talcum และ titanium dioxide ความเข้มข้นต่างๆกันคือ 0, 20%, 50% ของน้ําหนักฟิล์มต่อความแข็งแรง (breaking strength), แรงยึดเกาะของฟิล์ม (adhesive strength) และความคงตัวทางกายภาพของยาเม็ด lactose ที่เคลือบฟิล์ม hydroxypropylmethylcellulose (HPMC) โดยใช้น้ําเป็นตัวทําละลาย พบว่ายาเม็ดเคลือบฟิล์มที่มี PG และ PEG4000 และไม่มีผงของแข็งมีน้ําหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 7.2% และ 2.14%ตามลําดับ ส่วนค่า breaking strength ของยาเม็ดเคลือบฟิล์มมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อความเข้มข้นของผงของแข็งเพิ่มขึ้น adhesive strength ของฟิล์มที่มี titanium dioxide มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ฟิล์มที่มี talcum ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้น (%LOD) ในยาเม็ดเคลือบฟิล์มที่ไม่มีผงของแข็ง พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนเวลาที่ใช้ในการแตกตัวพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทํานองเดียวกับค่า adhesive strength เมื่อนํายาเม็ดเคลือบฟิล์มไปเก็บในสภาวะอุณหภูมิ/ความชื้น 450C/75% RH เป็นเวลา 3 และ 6 สัปดาห์พบว่าน้ําหนักยาเม็ดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ breaking strength ของฟิล์มมีค่าลดลงตามสัดส่วนปริมาณผงของแข็งที่เพิ่มขึ้นในฟิล์ม ในกรณีของ adhesive strength พบว่าฟิล์มที่มี titanium dioxide ไม่ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ แต้ฟิล์มที่มี talcum มีค่าลดลงเมื่อเก็บไว้ ส่วน %LOD ของยาเม็ดเคลือบฟิล์มที่ไม่มีผงของแข็งไม่พบว่าการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ฟิล์มที่มีผงของแข็งจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเก็บไว้ สําหรับเวลาที่ใช้ในการแตกตัวพบว่ายาเม็ดเคลือบฟิล์มที่ไม่มีผงของแข็งไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ฟิล์มที่มีผงของแข็งเวลาในการแตกตัวนานขึ้นเมื่อเก็บไว้
abstract:
Effects of 2 types of plasticizers, i.e., propylene glycol (PG) and polyethylene glycol (PEG4000) at 15% w/w of the film, and dispersed solids, i.e., talcum and titanium dioxide at 0, 20, and 50% w/w of the film, on breaking strength, adhesive strength, and physical stability of hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) film-coated lactose tablets with water as a solvent were studied. The results revealed that the weights of film-coated tablets with PG or PEG4000 without dispersed solid increased 7.2 and 2.14%, respectively. The breaking strength of the film was found to gradually decrease with the increasing concentration of dispersed solids.The adhesive strength of the films containing titanium dioxide appeared to increase, while those containing talcum did not significantly change. The %loss on drying (%LOD) of the film-coated tablets without dispersed solids was unchanged. The disintegration time generally tended to increase along with the increased adhesive strength of the film-coated tablets. The film-coated tablets under storage at 45 oC/75% RH for 3 and 6 weeks showed an increase in weight but a reduction in breaking strength with the increasing proportions of solids in the film. The adhesive strength of the films under storage containing titanium dioxide did not increase significantly whereas those containing talcum showed a slight increase. It was also found that %LOD of the film-coated tablets without dispersed solid showed no significant change whereas those containing solids appeared to increase under storage. The disintegration time of the film-coated tablets without solid was unchanged, while those with solids seemed to be prolonged under storage.
.