การศึกษาการปลดปล่อยอะไซโคลเวียออกจากฟิล์มโพลิเมอร์ |
โดย: ขวัญไพร พันธรักษ์พงษ์,สุกัญญา สุภาพ ปีการศึกษา: 2542 กลุ่มที่: 32 อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต , สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: , |
บทคัดย่อ: อะไซโคลเวียเป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม และงูสวัด การพัฒนายาในรูปแบบแผ่นฟิล์ม ปิดลงบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ ซึ่งสามารถควบคุมอัตราการปลดปล่อยยาได้คงที่และแม่นยำเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง ในการศึกษาอิทธิพลของ พลาสติไซเซอร์ และสารลดแรงตึงผิวที่มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยาอะไซโคลเวียจากแผ่นฟิล์ม เอทธิลเซลลูโลส เปรียบเทียบกับยาในรูปแบบยาครีมที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (Zovirax®, Zevin® cream และ Virogon®) ได้ทำการทดลองเตรียมแผ่นฟิล์มของเอทธิลเซลลูโลส 20 cps ที่มีตัวยาอะไซโคลเวีย และมีน้ำมันละหุ่งเป็นพลาสติไซเซอร์ มีทวีน 80 หรือสแปน 80 เป็นสารลดแรงตึงผิว แล้วนำไปศึกษาการปลดปล่อยตัวยาโดยใช้เซลล์ศึกษาการแพร่ของฟรานซ์ (Franz diffusion cell) และใช้น้ำเป็นตัวกลางควบคุมอุณหภูมิให้เท่ากับ 37 องศาเซลเซียส พบว่าการเติมสารลดแรงตึงผิวโดยเฉพาะทวีน 80 ช่วยเพิ่มอัตราการปลดปล่อยตัวยาให้เร็วขึ้น แต่สแปน 80 กลับลดอัตราการปลดปล่อยตัวยาให้ช้าลง นอกจากนี้พบว่าปริมาณพลาสติไซเซอร์ ที่เพิ่มขึ้นมีผลให้อัตราการปลดปล่อยตัวยาเร็วขึ้น ในกรณีของแผ่นฟิล์มที่มีสแปน 80 ในขณะที่อัตราการปลดปล่อยตัวยากลับช้าลงในกรณีของแผ่นฟิล์มที่มีทวีน 80 การปลดปล่อยตัวยาอะไซโคลเวียจากแผ่นฟิล์มชนิดนี้เป็นไปตามรูปแบบการปลดปล่อยตัวยาจาก เมทริกซ์ชนิดของแข็งที่มีผงยากระจายตัวยาอยู่ ซึ่งเป็นไปตามโมเดลของฮิกูชิ |
abstract: Acyclovir is an antiviral drug used in treatment of skin infections due to Herpes simplex and Varicella zoster. An alternative to improve its therapeutic efficacy is the development of skin patch on infectious area, the release rate of which could precisely be controlled. The influence of plasticizer and surfactants on release characteristics of acyclovir from ethylcellulose 20 cps films were studied and compared with commercial cream product (Zovirax®, Zevin® and Virogon®) by using films containing castor oil as a plasticizer and either Tween 80 or Span 80 as a surfactant. The Franz diffusion cell was used in the release study with water at 37oC as a releasing medium. It was found that the drug release rate was significantly increased upon addition of Tween 80 into the film whereas Span 80 imposed an opposite effect. It was also found that increase in plasticizer concentration resulted in an increased rate of release for films containing Span 80 but decreased rate for those containing Tween 80. The release characteristics of acyclovir from the films studied are conformed to those of dispersion matrices following the Higuchi’s model. |
. |