การพัฒนาตำรับยาเม็ดคาร์บามาซีพินชนิดควบคุมการปลดปล่อย

โดย: ปิติมา ผ่านสวัสดิ์,ปิยนันท์ กิ้มเส้ง    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำรับยาเม็ดคาร์บามาซีพินชนิดควบคุมการปลดปล่อยด้วยสารไคโตแซน ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ชีวภาพที่เตรียมจากเปลือกกุ้ง โดยเตรียมแกรนูลของยาคาร์-บามาซีพินด้วยสารละลายไคโตแซน 0.5% และ 1% ใน citric acid, acetic acid และ malic acid ด้วยวิธีเตรียมแกรนูลเปียก จากนั้นนำแกรนูลที่เตรียมได้มาผสมกับ spray dried lactose แล้วตอกเป็นเม็ดให้มีความแข็งประมาณ 6 กก. ประเมินคุณสมบัติของยาเม็ด ได้แก่ นำ้หนัก ความหนา ความแข็ง ความกร่อน การแตกตัว และการปลดปล่อยยาเปรียบเทียบกับตำรับที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ผลการศึกษาพบว่า ยาเม็ดคาร์บามาซีพินที่มีไคโตแซนเป็นองค์ประกอบปลดปล่อยยาออกมาได้ช้ากว่าตำรับยาที่ไม่มีไคโตแซน และตำรับยาที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และยาเม็ดที่มีไคโต-แซนในปริมาณมากกว่าจะปลดปล่อยตัวยาออกมาได้ช้ากว่า ส่วนชนิดของกรดที่ใช้มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยา คือ malic acid < acetic acid < citric acid การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไคโตแซนช่วยลดการปลดปล่อยยาออกจากยาเม็ด จึงสามารถนำมาใช้ในการเตรียมยาเม็ดคาร์บามาซีพินชนิดควบคุมการปลดปล่อยได้
abstract:
This study involves the development of carbamazepine controlled release tablet by using chitosan. Chitosan is biopolymer prepared from chitin which was found in the shell of lobsters or crabs. Carbamazepine granules were prepared via wet granulation with 0.5% and 1% chitosan in citric acid (1% w/v), acetic acid (1% w/v), and malic acid (1% w/v) respectively. The carbamazepine/chitosan granules were blended with spray dried lactose. The blends were compressed to obtain the tablet of 6 kg hardness. Tablet properties such as thickness, hardness, friability, disintegration time, and % dissolved were evaluated in comparison with the commercial tablet. This study indicated that the release from carbamazepine tablet containing chitosan was slower than that without chitosan and commercial tablet. An increase in the chitosan content in the tablet resulted in a decrease in the release rate. Furthermore, the type of acid also affected the release of carbamazepine from a tablet; malic acid
.