สารสกัดมะคำดีควายเพื่อใช้ในแชมพูสระผม

โดย: อุมาภัณฑ์ เอี่ยมศิลป์,อุษณีย์ อนุวรรตวรกุล    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 32

อาจารย์ที่ปรึกษา: อ้อมบุญ วัลลิสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
มะคำดีควาย (Sapindus rarak) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทย และยังพบพืชใน genus เดียวกันนี้ในประเทศต่างๆอีกหลายประเทศ เช่น S. mukurossi พบในเยอรมัน S. laurifolius พบในรัสเซีย เป็นต้น มะคำดีควายนับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก ในสมัยก่อนได้มีการนำผลมาใช้ในการรักษาชันนะตุ โดยใช้ผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตกต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แต่ยังไม่มีการนำมาผสมในแชมพู ซึ่งถ้าสามารถทำได้จะก่อให้เกิดความสะดวกในการใช้ ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มะคำดีควายผสมในแชมพูเพื่อ สุขภาพจากการทดลองหาวิธีสกัดที่เหมาะสม โดยนำเปลือกผลที่ตำพอแตกแล้วนำมาสกัดต่อเนื่องด้วย alcohol หรือ นำเปลือกผลหรือใช้เปลือกที่ตำพอแตกแช่น้ำ 24 ชั่วโมงแล้วสกัดโดยการขยี้ หรือนำเปลือกผลมาแช่ในน้ำ 24 ชั่วโมง แล้วขยี้เพื่อสกัด พบว่า การสกัดต่อเนื่องด้วย alcohol จะให้ปริมาณสารสกัดมากที่สุด เมื่อนำสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา พบว่าสารสกัดที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเท่านั้นที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ดังนั้นในการทดลองต่อไปจึงใช้เพียงสารสกัดน้ำของมะคำดีควายซึ่งทำให้แห้งด้วยการ Freeze dry ผสมแชมพูในความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เพื่อนำไปให้อาสาสมัครจำนวน 30 คนทดลองสระผม ซึ่งพบว่าทำให้ เส้นผมสะอาดและทำให้อาการคันศีรษะลดลง จากการทดลองหาระบบ TLC เพื่อแยกส่วนประกอบของสารสกัดพบว่า solvent system ที่ดีที่สุด คือ chloroform : methanol : water ในอัตราส่วน 65:20:3 บันทึกผลก่อนและหลังการ spray ด้วย Anisaldehyde spraying agent ภายใต้แสงอุลตราไวโอเลต นอกจากนี้ยังได้ทดสอบความคงตัวของสารสกัด ซึ่งผ่านการทำ freeze dry โดย (1) ดูปริมาณฟองที่เกิดจากการเขย่าสารละลายในน้ำที่เวลา 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70 วัน พบว่า ปริมาณของฟองค่อนข้างคงตัว (2) ตรวจด้วย TLC ที่เวลา 0 และ120 วัน พบว่าผล TLC ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเก็บสารสกัดใน desicator
abstract:
The Soap Berry tree or Sapindus rarak is one of the Thai medicinal plants. This plant also found in other countries e.g. S. mukurossi in Germany, S.laurifolius in Russia etc. Traditionally , the fruits have been used by Thai people for the treatment of Tinea favosa by boiling 5 fruits in a cup of water and applied on to the affected areas twice daily. If S.rarak fruits could be incorporated into shampoo , it will be convenient for the consumers . This project aimed at the possibility of using S.rarak extract in the form of shampoo for enhancing healthy scalp. Various extraction methods were tried . The fruit pericarp was extracted by maceration in alcohol or extracted continuously in a soxhlet extraction apparatus . Others were maceration of the whole pericarp or smashed pericarp in water for 24 hrs . The yield of extract was highest when extracted with soxhlet . However , upon testing the antifungal activity , the results showed that only freeze dried powder of the aqueous extracts contained the activities . Further experiment was performed on aqueous extract only. The freeze dried aqueous extract was mixed into a shampoo base at the concentration of 5 mg/ml and used by 30 volunteers. The results showed that after using the shampoo, the volunteers could feel healthy scalp and the feeling of itching was reduced . Various TLC systems were tried and the best one was a mixture of chloroform : methanol : water 65 : 20 : 3 . Detection could be made under UV light before and after spraying with Anisaldehyde spraying agent . Stability tests were also performed on the extract : (1) by observation of the froth volumn after shaking the aqueous solution kept at 10,20,30,40,50,60 and 70 days, the results showed relatively stable amount of froth, (2) comparison of the TLC pattern of the extract kept in a desicator at 0 and 120 days revealed no change in the composition
.