การพัฒนาตำรับยาเม็ดฟู่น้ำมันหอมระเหย |
โดย: ปัณณวัฒน์ สิทธิภูมิสวัสดิ์, วริฏฐา อุดมผล ปีการศึกษา: 2554 กลุ่มที่: 31 อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: ยาเม็ดฟู่, น้ำมันหอมระเหย, สารเพิ่มความร้อน, การแตกตัว, Effervescent tablet, Volatile oil, Exothermic substance, Disintegration |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดฟู่น้ำมันหอมระเหย โดยใช้ระบบฟองฟู่และสารเพิ่มความร้อนช่วยปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ในการสุคนธบำบัด ออกแบบการทดลองคัดเลือกสารช่วยในตำรับที่มีความเหมาะสมโดย Fractional Factorial Design ตำรับยาเม็ดฟู่พื้นเตรียมโดยวิธีการตอกตรง ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด แหล่งของคาร์บอนไดออกไซด์ สารเพิ่มความร้อน สารดูดซับน้ำมันหอมระเหย สารยึดเกาะ และสารกันติด นำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ เวลาในการแตกตัว และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น พบว่าตำรับที่ใช้เวลาในการแตกตัวน้อยที่สุดคือ ตำรับที่ประกอบด้วย กรดซิตริก โซเดียมไบคาร์บอเนต แมกนีเซียมซัลเฟต และ คอลลอยดอล ซิลิกอนไดออกไซด์ ตำรับที่เพิ่มอุณหภูมิได้สูงที่สุดคือ ตำรับที่ประกอบด้วย กรดทาร์ทาริก โซเดียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคลอไรด์ และคอลลอยดอล ซิลิกอนไดออกไซด์ จากนั้นจึงเตรียมยาเม็ดฟู่พื้น 2 ตำรับข้างต้นผสมกับ น้ำมันตะไคร้และ น้ำมันผิวส้ม พบว่า ตำรับแรกแตกตัวได้ดีแต่เพิ่มอุณหภูมิได้น้อย ตำรับที่สองแตกตัวไม่หมดแต่เพิ่มอุณหภูมิได้มากกว่า ในน้ำมันทั้งสองชนิด จึงพัฒนาตำรับที่เหมาะสมที่สุด ประกอบด้วย กรดทาร์ทาริก โซเดียมไบคาร์บอเนต แมกนีเซียมคลอไรด์ และคอลลอยดอล ซิลิกอนไดออกไซด์ พบว่า ตำรับน้ำมันตะไคร้ใช้เวลาในการแตกตัว 2.34 นาที และอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2.0 oซ ส่วนตำรับน้ำมันผิวส้ม ใช้เวลาในการแตกตัว 3.51 นาทีและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.8 oซ และมีการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยออกมาได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด เพื่อพัฒนาสูตรตำรับที่เหมาะสม และการพัฒนาการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป |
abstract: This project was the development of essential oil containing tablets that enhanced releasing by effervescent system and exothermic substance for aromatherapy. Experimental formulation screening for suitable excipients was designed by fractional factorial design. The effervescent base tablets composed of organic acid, source of carbon dioxide, exothermic substance, essential oil absorber, binder, and anti-adherent were prepared by direct compression method. Their physical properties, disintegration time, and temperature increment were examined. It was found that formulation with the fastest disintegration time was composed of citric acid, sodium bicarbonate, magnesium sulfate, and colloidal silicon dioxide, whereas those with the highest temperature increment was composed of tartaric acid, sodium carbonate, magnesium chloride, and colloidal silicon dioxide. Having incorporated lemongrass oil and orange oil into both formulations, it was found that the former had excellent disintegrating characteristics but poor in temperature raising ability. Conversely, the latter had incomplete disintegrating characteristics but superior temperature raising ability. As a result, the compromising formulation composed of tartaric acid, sodium bicarbonate, magnesium chloride, colloidal silicon dioxide, and essential oils was developed. The result showed that lemongrass oil formulation consumed 2.34 minutes for complete disintegration and raised the temperature for 2.0oC. On the other hand, orange oil formulation consumed 3.51 minute for complete disintegration and raised the temperature for 1.8 oC. However, further study on other essential oils was recommended for the development of suitable formulation and process optimum in industrial production. |
. |