การปลดปล่อยดิลไทอะเซม ไฮดดรคลอไรด์จากแมทริกซ์ชอบน้ำที่พองตัวได้

โดย: จรูญพันธ์ รัตนผดุงกิจ,เทพพล เจือเพชร    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , พวงแก้ว ลัคนทินพร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์, ไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส, diltiazem hydrochloride, hydroxypropylmethylmethylcellulose, HPMC, Methocel(trademark)
บทคัดย่อ:
ศึกษาการใช้ Hydroxypropylmethylcellulose (Methocel(trademark)) เป็นโพลิเมอร์แมทริกซ์ในการหน่วงอัตราการปลดปล่อยของดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์ (DAH) โดยใช้ชนิด K4M, K15M และ K100M ในความเข้มข้น 15%, 30%, 45% และ 60% w/w พบว่าปริมาณการปลดปล่อยของ DAH ออกจากโพลิเมอร์แมทริกซ์ทุกๆ ตำรับ ที่เวลาต่างๆ ภายใน 6 ชั่วโมงเป็นไปตามสมการการแพร่ของ Higuchi แต่เมื่อใช้ 15 %w/w Methocel(trademark) K4M และ K15M ตัวยาถูกปลดปล่อยออกมาหมด 100%ที่ 4.56 และ 5.00 ชั่วโมง ตามลำดับ จากการทดสอบข้อมูลการปลดปล่อยของตำรับต่างๆ ด้วย Analysis of Variance (ANOVA) และ Multiple Comparison โดยใช้ Least Significant Difference Procedure (LSD) พบว่าไม่ว่าจะใช้ Methocel®) ชนิดใด การเพิ่มความเข้มข้นของโพลิเมอร์จะมีผลในการหน่วงอัตราการปลดปล่อยตัวยาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01)(60%Methocel®>45%Methocel ®>30%Methocel® >15%Methocel ®) และพบว่าไม่ว่าจะใช้โพลิเมอร์ในความเข้มข้นใดๆ การเพิ่ม viscosity grade ของ Methocel®จะทำให้หน่วงอัตราการปลดปล่อยของตัวยาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) การปลดปล่อยตัวยา ดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์ เมื่อเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของโพลิเมอร์ พบว่าจะเป็นไปตามแม่แบบการแพร่ที่นำเสนอโดย เอกนันท์ รุ่งรักษ์จำรัสกุล และศุกลรัตน์ ประดับพงษา ซึ่งใช้สร้างแต่ละสมการทำนายการปลดปล่อยตัวยาดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์จากโพลิเมอร์แมทริกซ์ของ Methocel®) ชนิดต่างๆ
abstract:
The effects of concentration and type of hydroxypropylmethylcellulose (HPMC, Methocel®) on the release rates of diltiazem hydrochloride (DAH) from hydrophilic swellable matrices were studied using MethocelK4M, K15M and K100M at 15%, 30%, 45% and 60 % w/w. It was found that percentage release of DAH from all formulations within 6 h obeyed Higuchi"s model of diffusion. For matrices using15 % w/w Methocel®K4M and K15M, the drug release were 100% at 4.56 and 5.00 h. From analysis of variance (ANOVA) and multiple comparison using least significant difference procedure (LSD) for comparing release data, it was found that the release of DAH was significantly decreased by (1) the increased concentration of each Methocel ®(p<0.01) and (2) the increased viscosity grade of Methocel®(p<0.01). Furthermore the drug release from hydrophilic swellable matrices obeyed the diffusion model purposed by Rungkchamraskul and Pradubpongsa1. Various working equations were established to predict the release rate of DAH from each Methocel®.
.