สิทธิของผู้ป่วย""ในมุมมองของผู้ที่มารับบริการจากโรงพยาบาลรัฐ

โดย: พรสวรรค์ อิมามี,พัชรินทร์ ศรีประทักษ์    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: ชะอรสิน สุขศรีวงศ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สิทธิผู้ป่วย, โรงพยาบาลรัฐ, Patient"s Rights
บทคัดย่อ:
การวิจัยเรื่องสิทธิผู้ป่วยในมุมมองของผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลรัฐเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะการใช้สิทธิของผู้ป่วยนอก 400 รายที่มารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐ 4 แห่ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรงพยาบาลละ 100 รายโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 71 มีอายุ 21-30 ปี มากที่สุดร้อยละ 19 จบประถมศึกษาร้อยละ 46 มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 19 ร้อยละ 60 เคยรับบริการรักษามาแล้ว 4 ครั้งหรือมากกว่า ผู้ป่วยร้อยละ 85 ระบุว่าแพทย์ได้บอกขั้นตอนวิธีการรักษาร้อยละ 78 มีแพทย์ส่วนน้อยที่บอกชื่อและบอกสิทธิในการตัดสินใจเลือกใช้ยาและวิธีการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 45 ใช้สิทธิในการถามว่าป่วยเป็นอะไรและถามถึงผลการรักษา มีผู้ป่วยส่วนน้อยถามชื่อแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วย 3 ใน 4 ระบุว่าตนเองสามารถที่จะถามเรื่องการป่วย การรักษา และการใช้ยาจากแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ ผู้ป่วยร้อยละ 61 ตอบว่าเภสัชกรบอกวิธีการใช้ยาและร้อยละ 38 บอกข้อควรระวังขณะใช้ยา มีส่วนน้อยที่บอกชื่อยาและอันตรายที่จะเกิดจากการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 32 ถามเภสัชกรถึงวิธีการใช้ยาและร้อยละ 25 ถามสรรพคุณของยาที่ใช้ ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนน้อยถามชื่อเภสัชกรและอันตรายที่จะเกิดจากการใช้ยา มากกว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วยคิดว่าตนเองสามารถถามเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาได้ทุกเรื่อง แพทย์, เภสัชกรและผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนมีการให้และใช้สิทธิผู้ป่วยมากกว่าโรงพยาบาลศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์คิดว่าตนเองมีสิทธิถามแพทย์เรื่องการรักษาและการใช้ยามากกว่าผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แพทย์, เภสัชกรและผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างจังหวัดมีการให้และใช้สิทธิผู้ป่วยมากกว่าโรงพยาบาลในปริมณฑลกรุงเทพฯตามประเด็นที่ศึกษาเกือบทุกประเด็น ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจในเรื่องสิทธิของผู้ป่วยและควรบอกถึงสิทธิของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยหรือญาติได้รับทราบมากขึ้น
abstract:
The objective of this survey research was to assess the utilization of patient"s rights among 400 out-patients at 4 public hospitals. One hundred patients from each hospitals were interviewed. Data was analyzed by percentage, mean and Chi-square test. It was found that the sample was female, aged between 21-30 years old, finished primary school, and unskilled labor 71%,19%, 46%,19% respectively. Six percents of them received hospital service for at least 4 times, 85% of them told that they were informed by the physician about there symptoms and 78% about treatment procedures. Few physicians told the patients about their names, patient"s rights regarding alternative treatments and drugs being used. Most of the patients asked about their symptoms and the expected treatment outcomes. About three – fourth thought that they could ask physicians about their sickness as well as the treatment and the drugs that would be prescribed. Thirtyeight percents of the samples stated that pharmacists informed them about drug administration and precautions. The durg names and side effects were rarely told by the pharmacists. Thirtytwo percents of the patients asked pharmacists about how to use drugs as well as their effects. Pharmacist’s name and side effect of the drugs were only asked by some patients. More than three – fourth of the patients stated that they had the rights to ask the pharmacists in any aspects of the drug being used. Doctors, pharmacists, and patients at community hospitals gave and used pateint’s rights statistically more than those at regional hospitals. Patients at reginal hospitals thought that they had rights to ask doctors about treatment regimen and drug used statiscally more than those at community hospitals.
.