การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชาย

โดย: นางสาวพรนภา ปิตาทาสา , นายณัฐวัฒน์ สระทองเทียน    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: กระชายดำ, ผู้ชาย, เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ, Kaempferia parviflora, Herbal drink, Tonic drink
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชาย สูตรการผลิตเครื่องดื่มน้ำกระชายดำและน้ำเห็ดหลินจือใช้การต้มสกัดจากเหง้าแห้งกระชายดำ 10 กรัมต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตรที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที กรองเอาแต่สารละลาย ปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น ใช้สูตรตามที่มีการศึกษามาก่อน โดยนำสารสกัดกระชายดำด้วยน้ำมาศึกษาสูตรที่เหมาะสม โดยใช้อัตราส่วน น้ำกระชายดำ : น้ำเห็ดหลินจือ 30 : 10 ใช้สารให้ความหวานแตกต่างกัน ได้แก่ น้ำตาลซูโครส ฟรุกโตส ซูคราโลส จากนั้นนำเครื่องดื่มที่ผลิตได้มาทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ด้วยวิธี Hedonic scale 9 ระดับ (9-point hedonic scale)ใช้อาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 40 คน แล้ววิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยวิธี Analysis of Variance (ANOVA) เลือกสูตรที่ผู้บริโภคให้คะแนนภาพรวมสูงที่สุด เพื่อนำไปทดสอบคุณภาพทางเคมี และทางจุลินทรีย์ ผลการทดลองพบว่าสูตรที่ใช้น้ำตาลซูโครส ร้อยละ 16 น้ำผึ้งร้อยละ1.25 กรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.15 กรดซิตริก ร้อยละ 0.2 แต่งกลิ่นด้วยกลิ่นสตรอเบอร์รี่ผสมแคนตาลูป มีคะแนนความชอบโดยรวม 7.33 ไม่พบสารประกอบฟีนอลลิก (total phenolic compounds) เมื่อเทียบกับสารมาตรฐานกรดแกลลิก
abstract:
This special project aims to find out the formulation and to produce the tonics drinks for men by using the Black galingale (Kaempferia parviflora) and the Lingzhi mushroom (Ganoderma lucidum). To conduct a study, 10 g of Black galingale)have been firstly boiled in 100 mL clean water at 100o C for 5 minutes and filtered and corrected the solution in distilled water at 100 mL volume afterward. After getting an exact solution, it has been then used to optimize the formulation by using proportion 30:10 of Black galingale’s extract solution and Lingzhi mushroom respectively and varied in sweeteners concentration (sucrose, fructose, and sucralose) in each formulation. To evaluate the formulation, 9-point scale method has been conducted the sensory evaluation by sampling 40 healthy volunteers. In line with this, statistical data has been analyzed by using the analysis of variance (ANOVA) to figure out the best formulation which had the highest acceptance score. As a result, the finding of formulation illustrated that using the sucrose 16 %, honey 1.25 %, ascorbic acid 0.15 %, citric acid 0.2 % with the flavor of strawberry and cantaloupe had the highest acceptance scores at 7.33 points. However, there was no finding of phenolic compounds in the extract solution when using the analysis of total phenolic compounds compared with the standard gallic acid method.
.