ฤทธิ์ต้านจุลชีพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของโลชันบารุงผมตารับตรีผลา |
โดย: นางสาวจิราภรณ์ ลับแล, นางสาวมุกริน เสียงเพราะ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 30 อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: ตรีผลา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านจุลชีพ, มะขามป้อม, สมอพิเภก, สมอไทย, Triphala, Antioxidant, Antimicrobial, Phyllanthus emblica, Terminalia bellirica, Terminalia chebula |
บทคัดย่อ: โครงงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดด้วยน้าจากสมุนไพรตรีผลา ได้แก่ มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) และสมอพิเภก (Terminalia bellirica Roxb.) ผลตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดด้วยน้าทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วยสารกลุ่ม hydrolyzabletannins, alkaloids และ coumarins การวิเคราะห์ปริมาณสาร gallic acid (โดยวิธี High Pressure Liquid Chromatography) ในสารสกัดมะขามป้อม สมอพิเภก และสมอไทย มีค่าเท่ากับ 13, 6.0, 2.98% w/w ตามลาดับ หลังจากนั้นเตรียมสารสกัดผสมที่ประกอบด้วย มะขามป้อม:สมอพิเภก:สมอไทย อัตราส่วน 3:2:1 และอัตราส่วน 1:1:1 แล้วนาไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าอัตราส่วน 3:2:1 (ED50= 1.97 μg/ml) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าอัตราส่วน 1:1:1 (ED50= 2.02 μg/ml) และวิตามินซี (ED50= 3.29 μg/ml) โดยที่อัตราส่วน 3:2:1 และอัตราส่วน 1:1:1 มี gallic acid เท่ากับ 11.00 % w/w และ 9.22 % w/w ตามลาดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้แก่ S. aureus, B. subtilis และ E. coli พบว่าค่าความเข้มข้นของการยับยั้งที่ต่าที่สุดอยู่ระหว่าง 5.0-15.0 mg/ml และไม่พบฤทธิ์ต้านเชื้อรา C. albicans ทาการเตรียมโทนิคโลชันตรีผลาที่ความเข้มข้น 0.2% w/w เนื่องจากให้ลักษณะตารับที่ยอมรับได้ จากนั้นทดสอบลักษณะทางกายภาพเคมีและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตารับโทนิคชันตรีผลา พร้อมทั้งศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์สี่สัปดาห์ พบว่าโทนิคโลชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยที่ไม่พบการแยกชั้นของสารละลาย จึงสรุปได้ว่าควรมีการพัฒนาสูตรตารับต่อไปเพื่อให้ได้ลักษณะทางกายภาพที่ดีเหมาะสม |
abstract: The aim of project is to test antimicrobial and anti-oxidative activities of Triphala including Phyllanthus emblica L.(PE), Terminalia bellirica Retz.(TB) and Terminalia chebula L.(TC). The phytochemical screening test showed that all crude extracts consisted of hydrolyzable tannins, alkaloids and coumarins. The contents of gallic acid analyzed by HPLC method in PE, TB and TC extracts were 13.04, 6.00 and 2.98% w/w, respectively. The PE, TB and TC extracts were prepared into two different mixtures with the ratios of 3:2:1 and 1:1:1, respectively. Anti-oxidative activity test of the mixtures showed that the ratio of 3:2:1 (ED50= 1.97 μg/ml) was more active than the other mixture (ED50= 2.02 μg/ml) and vitamin C (ED50= 3.29 μg/ml). The percentage of gallic acid in the mixture 3:2:1 and 1:1:1 were 11.00% w/w and 9.22% w/w, respectively. The antibacterial activity test of the mixtures against S. aureus, B. subtilis and E. coli resulted in the minimum inhibitory concentration (MIC) of extract mixtures ranging from 5.0 to 15.0 mg/ml, whereas the antifungal activity was not found. The 0.2% w/w of Triphala hair tonic lotion was prepared because of the palatable appearance. The result of physicochemical property and stability tests for 4 weeks indicated that the formulation had a great anti-oxidative activity. In conclusion, the product should further be developed for a better physical characteristic of the formulation. |
. |