การพัฒนาตำรับครีมหมักผมสมุนไพรขจัดรังแค

โดย: กนกวรรณ แช่มช้อย, ณภิญญา ฤทธิกำกับการ    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ , ปองทิพย์ สิทธิสาร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ครีมหมักผมสมุนไพรขจัดรังแค, รังแค, น้ำมันตะไคร้, antidandruff hair cream, dandruff, lemongrass oil, Malassezia furfur
บทคัดย่อ:
จากโครงการพิเศษปี 2552 เรื่องการพัฒนาตำรับแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค พบว่าแชมพูน้ำมันตะไคร้สามารถยับยั้งเชื้อรา Malassezia furfur ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดรังแคได้ แต่มีข้อจำกัดที่ระยะเวลาในการสัมผัสกับหนังศีรษะมีระยะสั้นเกินไป โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตำรับครีมหมักผมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัด/ป้องกันรังแคได้มากขึ้น โดยทดลองเพิ่มส่วนประกอบในตำรับให้สามารถบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะร่วมด้วย สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ น้ำมันตะไคร้ซึ่งมีฤทธิ์ขจัดรังแค และน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงาซึ่งเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเส้นผม มีการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันแต่ละชนิดโดยวิธี disc diffusion ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ คือ Escherichia coli, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Salmonella typhi, Shigella sonei, Pseudomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumoniae เปรียบเทียบผลกับยา Ceftriaxone และฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ M. furfur และ Candida albicans เปรียบเทียบกับยา Ketoconazole พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อทั้งหมดได้ ส่วนน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงาไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อทุกชนิด จากการหาค่า MIC ของน้ำมันตะไคร้ต่อเชื้อ M. furfur พบว่ามีค่าเท่ากับ 3.58 µl/ml จากการทดลองตั้งตำรับครีมหมักผมที่ความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้ 1% และ 2% โดยน้ำหนักและคัดเลือกตำรับที่เหมาะสมโดยดูจากลักษณะทางกายภาพของครีมหมักผมที่ได้ เช่น สี กลิ่น ความหนืด ความเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกชั้น และความคงตัวของตำรับครีมหมักผมที่เก็บในภาวะปกติ (28-30 องศาเซลเซียส) และในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลปรากฎว่าครีมหมักผมทั้งสองตำรับไม่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อ M. furfur จึงได้ทดลองเตรียมครีมหมักผมความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้ 10% โดยน้ำหนัก โดยไม่มีน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงาเป็นส่วนประกอบ พบว่าครีมหมักผมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ M. furfur ได้โดยมีค่า MFC เท่ากับ 22.40 µl/ml จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันตะไคร้และตำรับครีมหมักผม โดยวิธี TLC เทียบกับสารมาตรฐาน citral ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันตะไคร้ พบว่าน้ำมันตะไคร้และตำรับครีมหมักผมมีสาร citral เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
abstract:
This experiment extended from the 2009 special project “Development of antidandruff herbal shampoo” which resulted that lemongrass oil has a potential to inhibit Malassezia furfur, a main fungus causing dandruff problem in human. However, the lemongrass oil shampoo has a limited condition that time to contact scalp is too short. Thus, the objective of this special project focused on developing of antidandruff herbal hair mask to improve the efficacy. The coconut oil and sesame oil were added to the formular in order to nourish hair. The lemongrass oil, coconut oil and sesame oil were test for antifungal activity by disc diffusion. The disc diffusion of each oil against Escherichia coli, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Salmonella typhi, Shigella sonnei, Pseudomonas aeruginosa and Klebsiella pneumoniae were compared with ceftriazone, while antifungal activity against M. furfur and Candida albicans was compared with ketoconazole, the results showed that the lemongrass oil could inhibit all of organisms but coconut oil and sesame oil did not have this activity. The minimal inhibitory concentration (MIC) of lemongrass oil, against M. furfur was determined by broth dilution method. The MIC of the oil was found to be 3.58 µl/ml. To determine a suitable concentration of lemongrass oil that should be incorporated into the developed hair mask, two concentrations of lemongrass oil, i.e. 1 and 2% w/w were incorporated. The formulations were determined for their physical properties, i.e. color, odor, viscosity, homogeneity and stability. The stability test was determined by storing the formulations at room temperature (28-30 OC) and at accelerated temperature (45 OC) for 6 weeks. The results showed that these formulae could not inhibit M. furfur. Thus, 10%w/w lemongrass oil with no coconut and sesame oils was prepared and found that the preparation could inhibit M. furfur at MFC 22.40 µl/ml. The lemongrass oil and the preparation were analyzed by thin layer chromatography (TLC) compared with citral reference standard, a major component in the lemongrass oil . The results showed that citral is also the main component in the hair mask preparation.
.