การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากพืช |
โดย: กนกวรรณ เวธน์ภาคิน, กัญญา มัชฌิมาวิวัฒน์ ปีการศึกษา: 2552 กลุ่มที่: 30 อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: น้ำมันหอมระเหย, สิว, Staphylococcus epidermidis, Propionibacterium acnes, Volatile oil, Anti-acne, Staphylococcus epidermidis, Propionibacterium acne |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus epidermidis และ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสิว ของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 10 ชนิด ได้แก่ กระชาย เทพทาโร เนียมหูเสือ ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ ส้มโอ เสม็ดขาว มหาหงส์ มะมุด และไม้หอมอินเดีย จากการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำ (Hydrodistillation) จากพืช 5 ชนิด คือเนียมหูเสือ ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ มหาหงส์ และมะมุด พบว่าได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหย 0.086, 0.039, 0.053, 0.104, 0.035 %v/w ตามลำดับ ส่วนพืชอีก 5 ชนิดนั้นมีตัวอย่างในรูปน้ำมันหอมระเหย การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยด้วย GC-MS พบสารที่เป็นองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองในน้ำมันหอมระเหยดังต่อไปนี้ กระชาย (cis-Ocimene 28.75%, Camphor 23.83%) เทพทาโร (Citral 57.36%) เนียมหูเสือ (Thymol 68.86%) ผักชีฝรั่ง (2-Dodecenal 36.44%) ผักไผ่ (n-Dodecanal 42.06%) ส้มโอ (l-Limonene 97.36%) เสม็ดขาว (Eucalyptol 61.31%) มหาหงส์ (Eucapur 43.15%) มะมุด (alpha-Pinene 73.06%) และ ไม้หอมอินเดีย (alpha-Santalol 61.57%) การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหย โดยหาค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) โดยวิธี Broth dilution method และค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) พบว่าฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากกระชาย เทพทาโร เนียมหูเสือ ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ ส้มโอ เสม็ดขาว มหาหงส์ มะมุด และไม้หอมอินเดีย ในการต้านเชื้อ S. epidermidis มีค่า MIC เท่ากับ 0.1250, 0.0312, 0.0625, 0.00190, >2, 2, 0.0625, 0.1250, >1 และ 0.0078 %v/v ตามลำดับ และค่า MBC เท่ากับ 1, 0.0625, 0.1250, 0.0019, >2, 4, 0.5000, 0.5000, >1, 0.0156 %v/v ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยในการต้านเชื้อ P. acnes มีค่า MIC เท่ากับ 0.5000, 0.0312, 0.0312, 0.0039, >2, >4, 0.0312, 0.1250, >0.5 และ 0.0625 %v/v ตามลำดับ และค่า MBC เท่ากับ 1, 0.5000, 0.5000, 0.0078, >2, >4, 0.1250, 1, >0.5 และ 0.2500 %v/v ตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้นพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากผักชีฝรั่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อที่นำมาทดสอบได้ดีที่สุด |
abstract: The objective of this special project is to study anti-acne activity of the volatile oils from plants against Staphylococcus epidermidis and Propionibacterium acnes which are the major cause of acne. The volatile oils used in this experiment were Boesenbergia pandurata (I), Cinnamomum porrectum (II), Plectranthus amboinicus (III), Eryngium foetidum (IV), Persicaria odorata (V), Citrus maxima (VI), Melaleuca cajuputi (VII), Hedychium coronarium (VIII), Mangifera foetida (IX), and Santalum album (X). The volatile oils of five plants, III, IV, V, VIII and IX were extracted by hydrodistillation and yielded 0.086, 0.039, 0.053, 0.104, 0.035 %v/w, respectively. The volatile oils from the other selected plants were already volatile oils. The results from Gas Chromatography Mass Spectrometer (GC-MS) showed that the major and minor compounds of the volatile oils were I (cis-Ocimene 28.75%, Camphor 23.83%), II (Citral 57.36%), III (Thymol 68.86%), IV (2-Dodecenal 36.44%), V (n-Dodecanal 42.06%), VI (l-Limonene 97.36%), VII (Eucalyptol 61.31%), VIII (Eucapur 43.15%), IX (alpha-Pinene 73.06%) and X (alpha-Santalol 61.57%). The MIC of the volatile oils was determined by broth dilution method. The MIC of the volatiles from I, II, III, IV, V, VI ,VII, VIII, IX and X against S. epidermidis were 0.1250, 0.0312, 0.0625, 0.00190, >2, 2, 0.0625, 0.1250, >1 and 0.0078 %v/v, respectively and the MBC were 1, 0.0625, 0.1250, 0.0019, >2, 4, 0.5000, 0.5000, >1, 0.0156 %v/v , respectively. The MIC of volatile oils against P. acnes were 0.5000, 0.0312, 0.0312, 0.0039, >2, >4, 0.0312, 0.1250, >0.5 and 0.0625 %v/v, respectively and the MBC were 1, 0.5000, 0.5000, 0.0078, >2, >4, 0.1250, 1, >0.5 and 0.2500 %v/v, respectively. The results showed that the volatile oil of Eryngium foetidum showed the most effective bacteriostatic and bactericidal action against those of acne-inducing bacteria. |
. |