การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของยาต้านจุลชีพต่อเชื้อ Escherichia coli ในหลอดทดลอง

โดย: สมฤทัย บูรพาศิริวัฒน์, สุภัชชา หมื่นแก้ว    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: อโนชา อุทัยพัฒน์ , ม.ล.สุมาลย์ สาระยา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: Escherichia coli, MIC, combination antimicrobial, Escherichai coli, MIC, combination antimicrobial
บทคัดย่อ:
Escherichia coli เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ โดยปกติมักอาศัยอยู่ในลําไส้โดยเฉพาะลําไส้ใหญ่ของคนและสัตว์ กรณีที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจก่อโรคที่พบได้บ่อยคือ โรคท้องเสีย โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อรักษาโรคติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันพบว่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษานั้นเริ่มมีการดื้อยามากขึ้น วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อทดลองว่าเชื้อ E.coli 3 สายพันธุ์ (u965, u1016, u1271) ที่แยกได้ จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดีเทียบกับสายพันธุ์ ATCC ไวต่อยาต้านจุลชีพ 5 ชนิด ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ gentamicin, kanamycin, meropenem, cefotaxime, cefminox โดยวิธี Broth microdilution method และ Disk diffusion method รวมทั้งทดสอบความไวของการใช้ยาต้านจุลชีพ 2 ชนิด โดยวิธี Checkerboard dilution method ผลการทดลองพบว?า E. coli ดื้อต่อ gentamicin, kanamycin และ cefotaxime ส?วน meropenem ใช้ได้ผลสําหรับสายพันธุ์ u965 เท่านั้น ส่วนสายพันธุ์อื่นมีแนวโน้มดื้อต่อยานี้ ทุกสายพันธุ์ยังคงไวต่อ cefminox ผลการทดลองใช้ยาต้านจุลชีพร่วมกัน 2 ชนิด พบว่าการใช้ gentamicin ร่วมกับ cefotaxime นั้นให้ผลเสริมฤทธิ์กันในการยับยั้งเชื้อ E.coli ทุกสายพันธุ์ ส่วนการใช้ meropenem ร่วมกับ gentamicin ให้ผลการรักษาเท่าเดิม ต่อ ATCC และ u965 และให้ผลต้านฤทธิ์กันต่อ u1016 และ u1271 จากการทดลองนี้จึงอาจจะสรุปได้ว่าไม่ควรใช้gentamicin และ kanamycin ชนิดเดียวในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจาก E.coli เนื่องจากมีการดื้อต่อยา และการใช้ยาต้านจุลชีพร่วมกัน 2 ตัว คือ gentamicin และ cefotaxime ให้ผลในการรักษาเสริมฤทธิ์กัน การใช?ยาต้านจุลชีพร่วมกันจะให้ผลดีในการรักษา ส่วน meropenem และ gentamicin ไม่มีประโยชน์ในการใช้ร่วมกันเนื่องจากผลการทดลองนั้นให้ผลเท่าเดิมและให้ผลต้านฤทธิ์กัน
abstract:
Escherichia coli is a common bacteria or normal flora found in the human and animal intestine,especially in large intestine and in feces. When the defense mechanism is diminished, E. coli may cause diarrhea, urinary tract infection, and neonatal meningitis. Therefore, antimicrobials have an important role for the treatment of these infections. At present, bacterial resistance to antimicrobial agents is on an increasing trend. The aim of this study is to examine the in vitro activity of five antimicrobials (gentamicin, kanamycin, meropenem, cefotaxime, cefminox) against three strains of E. coli (u965, u1016, u1271) isolated from patients admitted in Ramathibodi hospital compared with those of ATCC strains by broth microdilution and disk diffusion methods. The Checkerboard method was used to evaluate the activity of two combined antimicrobials, cefotaxime with gentamicin and meropenem with gentamicin. MIC indicated that all strains of E.coli was resistance to gentamicin, kanamycin, and cefotaxime. Only E. coli u965 was susceptible to meropenem. All strains were susceptible to cefminox. Gentamicin combined with cefotaxime had synergistic effect in inhibition of E.coli. Meropenem combined with gentamicin had additive effect on ATCC and u965, but antagonism effect on u1016 and u1271. Because of resistance of E.coli to these antimicrobials, use gentamicin or kanamycin should not be used alone. Because gentamicin combined with cefotaxime produced synergism. Using these combination antimicrobial is advantagous. However, meropenem combined with gentamicin was not effective because they showed additive effect or antagonism for some strains.
.