เครื่องดื่มเข้มข้นจากสารสกัดสมุนไพรชนิดใช้ฉีดพ่นในปากเพื่อแก้ง่วง

โดย: เกษรา เวทยานนท์,สุภัค จิรสุวรรณการ    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิมล ศรีศุข , นันทวัน บุณยะประภัศร , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์ , สุวรรณ ธีระวรพันธ์    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: เครื่องดื่ม, พริกขี้หนู, ผลิตภัณฑ์แก้ง่วง, beverage, Capsicum frutescens L., wake- up product
บทคัดย่อ:
พัฒนาเครื่องดื่มเข้มข้นชนิดใช้ฉีดในปากเพื่อแก้ง่วงจากสารสกัดสมุนไพร เพื่อนำมาใช้แทนสารกระตุ้นแก้ง่วงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สมุนไพรที่เลือกใช้ คือ พริกขี้หนูสีแดง (Capsicum frutescens L.) สูตรเครื่องดื่มเข้มข้นที่คงตัวประกอบด้วยน้ำคั้นพริกขี้หนูความเข้มข้นร้อยละ 30 โดยปริมาตร, gum tragacanth ร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร, น้ำตาลฟรุคโตส, กรดซิตริก, โซเดียมคลอไรด์, และโซเดียมเบนโซเอต ในปริมาณร้อยละ 5.8, 1, 0.6, และ 0.2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรตามลำดับ ทำการประเมินทางประสาทสัมผัสโดยใช้แบบทดสอบ 9-point-Hedonic scale ในอาสาสมัคร ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คน ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ย 6.95 (“ชอบเล็กน้อย” ถึง “ชอบปานกลาง“) โดยอาสาสมัครทุกคนรับรู้รสเผ็ด และทำการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครกลุ่มเดียวกัน โดยการวัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจก่อนได้รับ, หลังได้รับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเข้มข้น, และผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำคั้นพริกขี้หนู ทันทีและทุก 1 นาที แปลผลทางสถิติด้วย Analysis of Variance พบว่า การให้ผลิตภัณฑ์ทำให้ค่าความดัน systolic เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ทันทีจนถึงนาทีที่ 3 อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) ทันทีจนถึงนาทีที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและหลังได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำคั้นพริกขี้หนู ส่วนค่าความดัน diastolic และค่าความดันเฉลี่ยมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น
abstract:
A concentrated beverage spray from herbal extracts, was developed, in order to replace stimulating products which were detrimental to health. Capsicum frutescens L. was selected for the development. The concentrated beverage formula consisted of red bird pepper juice at 30% by volume, gum tragacanth at 1.5% W/V, fructose, citric acid, sodium chloride, and sodium benzoate in the percentage of 5.8, 1, 0.6, and 0.2% W/V, respectivety. The concentrated beverage was evaluated among 20 female Pharmacy students using 9-point Hedonic scale method. The mean score obtained was 6.95 (“like slightly” to “like moderately”). In the clinical studies, blood pressure and heart rate were measured before, immediately and every minute after spraying the beverage and control formula among the same group of the students, using Analysis of Variance for the statistical analysis. The concentrated beverage caused significant increase (P<0.05) in systolic blood pressure immediately and at 1, 2, and 3 min significant increase (P<0.05) in heart rate immediately and at 1 min after administration, when compared to the values before and after spraying control formula. The diastolic blood pressure and mean arterial pressure also increased.
.