การพัฒนาวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงเพื่อวิเคราะห์กรดคาเฟอิกและโรสมารินิคใน สารสกัดใบรางจืด |
โดย: นางสาวพนิดา โพธิ์พรหม,นายสัณหวัช พรหมโยธิน ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 29 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , ชุติมา เพชรกระจ่าง , ปองทิพย์ สิทธิสาร ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: รางจืด, กรดคาเฟอิก, กรดโรสมารินิค, โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง, Thunbergia laurifolia, Caffeic acid, Rosmarinic acid, High performance liquid chromatography |
บทคัดย่อ: รางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุข้อบ่งใช้ของรางจืดในรูปแบบยาแคปซูลและชาชงสำหรับ ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการระบุสารสำคัญสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพใบรางจืดมาก่อน โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงเพื่อวิเคราะห์ปริมาณกรดคาเฟอิกและกรดโรสมารินิคในสารสกัดใบรางจืด โดยอาศัยเทคนิค quantitative analysis of multi-components by single-marker (QAMS) สภาวะที่เหมาะสม ประกอบด้วย คอลัมน์รีเวอร์สเฟส C-18 วัฏภาคเคลื่อนที่คือ 0.02% ortho-phosphoric acid และ acetonitrile แบบ gradient elution ที่ความยาวคลื่น 330 นาโนเมตรและอัตราการไหลของวัฏภาคเคลื่อนที่คือ 1 มิลลิลิตรต่อนาที ทำการวิเคราะห์ปริมาณกรดคาเฟอิคและกรดโรสมารินิคโดยวิธี external standard แล้วจึงเลือกกรดโรสมารินิคเป็นตัวแทนภายใน ในการหาค่า relative correction factors (RCF) ระหว่างกรดคาเฟอิกและกรดโรสมารินิค ปริมาณกรดคาเฟอิคจึงสามารถคำนวณได้โดยตรงจากค่า RCF เมื่อเปรียบเทียบปริมาณของกรดคาเฟอิคที่ได้จากการคำนวณโดยวิธี external standard และวิธี QAMS พบว่าปริมาณกรดคาเฟอิคที่ได้จากทั้งสองวิธีไม่มีความแตกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p มากกว่า 0.05 เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบ paired T-test ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธี QAMS ที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ สามารถประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพสารสกัดใบรางจืดต่อไปในอนาคต |
abstract: Thunbergia laurifolia Lindl., known as Rang Chuet, is a medical plant that is popularly used in Thailand. In National Drug list, the indication of Rang Chuet capsules and infusion was assigned for treatment of fever and apthous ulcer. However, a marker compound for the quality control of T. laurifolia was not clearly identified. The objective of this study was to develop the high-performance liquid chromatography (HPLC) method for the quantitative analysis of caffeic acid and rosmarinic acid in T. laurifolia leaf extract using quantitative analysis of multi-components by single-marker technique. The optimal condition consisted of a C-18 reversed-phase column with the mobile phase of 0.02% ortho-phosphoric acid and acetonitrile using gradient elution. The detection wavelength was 330 nm and the flow rate was 1 ml/min. Quantitative analysis of caffeic acid and rosmarinic acid were conducted using the external standard (ES) method, then rosmarinic acid was selected as the internal constituent to calculate the relative correction factors (RCF) between caffeic acid and rosmarinic acid. The content of the caffeic acid can be directly calculated from the RCF. Comparing caffeic acid contents obtained from ES and QAMS method, it was found that there is no significant difference between caffeic acid contents obtained from both methods with p-value higher than 0.05% using paired T-test statistical analysis. The results from this study indicated that the developed QAMS method was accurate and reliable which could be applied for quality control of T. laurifolia leaf extract in the future. |
. |