การเตรียมและการศึกษาคุณสมบัติของเปลือกไข่สำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของยาเม็ดกระจายตัวในปาก

โดย: ประภัสรา ปราการกมานันท์, ศิริพร พุทธธีรภาพ    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: แคลเซียม, แคลเซียมอะซิเตต, เปลือกไข่, ยาเม็ดกระจายตัวในปาก, Calcium, Calcium acetate, Eggshell, Orodispersible tablet
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาการเตรียมผงเปลือกไข่ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของยาเม็ดกระจายตัวในปาก โดยเริ่มจากการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของผงเปลือกไข่ ได้แก่ ลักษณะของผง ความชื้น การไหล และความหนาแน่นของผงยาก่อนและหลังการเคาะ จากนั้นพัฒนาวิธีการนำกรดมาทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่เพื่อทำให้อยู่ในรูปเกลือแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ดีขึ้น จากการทดลองพบว่าการใช้กรดอะซิติกให้ผลผลิตที่มีคุณสมบัติตามต้องการ จึงเลือกกรดดังกล่าวมาพัฒนาขั้นตอนการผลิตที่ประหยัดวัตถุดิบและได้ผลผลิตมากที่สุด จากนั้นนำผงแคลเซียมอะซีเตตที่เตรียมได้ไปพัฒนาตำรับยาเม็ดกระจายตัวในปาก พบว่าตำรับที่ใช้ อะวีเซลพีเอช 102 เอชพีเอ็มซี และ แมกนีเซียม สเตียเรต ในปริมาณ 44.55%, 4.95% และ 0.5% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เป็นตำรับที่เหมาะสมสำหรับการตอกด้วยเครื่องตอกชนิดมือหมุน แต่เมื่อใช้เครื่องตอกสากเดียวชนิดไฟฟ้าแล้วพบว่าผงยาติดในเบ้าและสาก จึงทำการปรับปรุงตำรับโดยการเพิ่ม แมกนีเซียม สเตียเรต ในปริมาณ 1.0% และ 1.5% โดยน้ำหนัก พบว่าสามารถแก้ปัญหาผงยาติดในเบ้าและสากได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าการเพิ่มแมกนีเซียม สเตียเรต มีผลเพิ่มระยะเวลาในการแตกตัวและเพิ่มความกร่อนของยาเม็ดดังกล่าวอีกด้วย
abstract:
Preparation of eggshell powder for orodispersible tablet was studied in this special project. First, the physical properties of the eggshell powder such as appearance, moisture content, flow, bulk and tapped density were investigated. Then the method used for acid treatment of the eggshell was developed in order to increase water solubility of the eggshell powder. It was found that satisfactory product was obtained when acetic acid was used. Therefore acetic acid was chosen for further study to improve the method regarding cost and yield. Furthermore, the resulted calcium acetate was formulated into orodispersible tablet. The formula that is composed of Avicel PH102, HPMC, and magnesium stearate 44.55%, 4.95% and 0.5%w/w respectively, was suitable for manual single-punch tablet machine. However, sticking problem was developed when continuous tabletting process was used. Increasing the amount of magnesium stearate to 1.0% and 1.5% w/w could solve this problem. However, it also had an a negative effect on disintegrating and friability of the tablets as an increase in disintegrating time and %friability was found.
.